วัตถุประสงค์
ความหมาย
| วิธีทางกายภาพและเคมีในการล้างและฆ่าเชื้อไวรัส FMD
|
วัตถุประสงค์
| 1. ทำลายเชื้อโรคที่ออกมานอกร่างกายสัตว์ในวงล้อมของอุบัติการ
2. ทำให้อุปกรณ์ที่ปนเปื้อนมีความเหมาะสมในการใช้งานต่อไป ไม่ทำให้โรคแพร่ กระจาย
3. ลดความเข้มข้นของเชื้อในบริเวณปนเปื้อน เป็นการลดโอกาสที่จะเกิดสัตว์ป่วย
|
ระยะเวลา
| เมื่อยังมีสัตว์ป่วย
|
วิธีการปฏิบัติ
ขั้นเตรียมการ
| เตรียมความพร้อมสำหรับอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
- โซเดียมคาร์บอเนท หรือยาฆ่าเชื้อไวรัส FMD ชนิดอื่น
- ถังพ่นยาฆ่าเชื้อ ฝักบัวรดน้ำ
- ถังน้ำ, สบู่, แปรง
- รองเท้าบูท ถุงมือ ชุดป้องกันสารเคมี
- ในการทำลายเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อน จะต้องกระทำเมื่อนำเอาสัตว์ป่วยออกไปแล้ว
ในคอกสุกรการทำลายสัตว์ป่วยส่วนน้อยในระยะแรกจะมีผลดี มากกว่าที่จะเก็บสัตว์ป่วยไว้ แต่ในโคใช้วิธีกักแยกสัตว์ป่วยจะเหมาะสมกว่า สำหรับสุกรจึงอาจมีสัตว์ป่วยอยู่ด้วยในโรงเรือนซึ่งจะทำให้การ ฆ่าเชื้อได้ผลไม่เต็มที่ จึงควรฆ่าเชื้อในโรงเรือนทุกวันจนกว่าจะไม่มีสัตว์ป่วย
|
| การล้างฆ่าเชื้อบุคคล
มีจุดประสงค์ในการล้างฆ่าเชื้อที่ปนเปื้อนตัวคนหรือเสื้อผ้า ลดโอกาสที่จะเกิดการ กระจายเชื้อโรคเมื่อออกจากตำแหน่งปนเปื้อน การปนเปื้อนอย่างหนักซึ่งจะเกิดเมื่อ 1) ไปตรวจรักษาสัตว์ติดเชื้อ 2) ไปตรวจซากสัตว์และเก็บตัวอย่าง 3) ไปบริเวณทำลายซาก และ 4) ไปขนย้ายวัสดุ สิ่งขับถ่ายจากโรงเรือนที่ขังสัตว์ป่วย
- จัดบริเวณล้างฆ่าเชื้อบุคคลใกลบริเวณปนเปื้อน น้ำล้างจะต้องไม่ไหลไปสู่บริเวณที่สะอาด
- ใช้สบู่ในการล้างหน้า ผม ผิวหนัง มือ
- ใช้สารละลายโซเดียมคาร์บอเนท 4% ในการฆ่าเชื้อไวรัส
- เตรียมน้ำยาในถังน้ำและจุ่มรองเท้าบูทลงในถังน้ำยา
- พ่นน้ำยาที่ล้อรถ
- ออกจากบริเวณปนเปื้อน อาบน้ำ สระผม และเปลี่ยนเสื้อผ้าชุดใหม่
- งดไปฟาร์มอื่นที่ไม่ปนเปื้อน อย่างน้อย 1 สัปดาห์
|
| การล้างฆ่าเชื้ออุปกรณ์, โรงเรือน
- การล้าง มีจุดประสงค์เพื่อกำจัดเศษวัสดุ สิ่งสกปรก เป็นขั้นตอนที่มีความสำคัญในการทำลายเชื้อ เพราะเศษอินทรียวัตถุที่ตกค้างจะทำให้ประสิทธิภาพของยาฆ่าเชื้อลดลง ให้ขูด ใช้แปรงขัด หรือ ตักสิ่งสกปรกที่สะสมอยู่ โดยหลีกเลี่ยงการใช้น้ำล้างในขั้นนี้ ฝังสิ่งสกปรกเหล่านี้แล้วจึงฉีดล้างโดยใช้แรงน้ำมีความดัน
เมื่อมีสัตว์ป่วยอยู่ในโรงเรือนไม่ควรใช้น้ำแรงดันสูง เนื่องจากจะเป็นการสร้าง bioaerosols สำหรับไวรัส และยังจะทำให้สิ่งสกปรกถูกฉีดไล่กระจายไปสู่สัตว์ตัวอื่นโดยรอบ
- ความเข้มข้นของยาฆ่าเชื้อที่ระบุตามฉลากเป็นขนาดที่ใช้้ในการ
ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ เมื่อต้องใช้ขณะมีสัตว์อยู่ด้วยก็ให้ระมัดระวังในการใช้ โดยเพ่งเล็งเป้าหมายอยู่ที่สิ่งแวดล้อมรอบตัวสัตว์ เช่น คอก, ทางเดิน, รางอาหาร
- ปล่อยให้ยาฆ่าเชื้อมีเวลาสัมผัสเชื้อโรคอย่างน้อย 20-30 นาที โดยทั่วไปไม่จำเป็นต้องล้างน้ำซ้ำ เพื่อต้องการฤทธิ์ตกค้างของยาฆ่าเชื้อเว้นแต่เมื่อน้ำยาฆ่าเชื้อเปรอะตัวสัตว์มาก
- จัดลำดับในการฆ่าเชื้อสำหรับในโรงเรือนสุกร ดังนี้
- เมื่อไม่มีสัตว์ป่วย
ให้พ่นฆ่าเชื้อจากบนลงล่าง ตั้งแต่เพดาน-ฝา-พื้น เป็นการ ล้างฆ่าเชื้อเพียงเที่ยวเดียวเท่านั้น หากเป็น
โรงเรือนที่ยังมีสุกรปกติอยู่ ให้ล้างฆ่าเชื้อที่อาจยังปนเปื้อนอยู่ ด้วยวิธีการเช่นเดียว
กันกับเมื่อมีสัตว์ป่วยอยู่ในโรงเรือน
- เมื่อมีสัตว์ป่วยอยู่ในโรงเรือน ให้ฆ่าเชื้อโดยเน้นเป็นบริเวณจะช่วยให้การฆ่าเชื้อมีประสิทธิภาพดีกว่า โดยเน้นที่รอบคอก ตัวป่วย หรือตำแหน่งที่มีตัวป่วยเป็นลำดับแรก แล้วขยายออกโดยรอบ ถัดไปเป็นทางเดิน อุปกรณ์การเลี้ยงสัตว์
โดยรดน้ำยาฆ่าเชื้อลงพื้นรอบตัวสัตว์ป่วยด้วยฝักบัวรดน้ำ ไม่พ่น ยาฆ่าเชื้อใส่ตัวสัตว์โดยตรง ล้างฆ่าเชื้อซ้ำวันละครั้ง จนกระทั่งหมดสัตว์แสดงอาการป่วย จึงลดความถี่ในการล้างฆ่าเชื้อลง
- ไวรัส FMD จะมีการติดต่อทางการหายใจ แต่ไม่มีประโยชน์ที่ จะฆ่าเชื้อในอากาศโดยการพ่นยาฆ่าเชื้อเป็นละอองไปในอากาศหรือพ่นหมอกควัน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีสัตว์ป่วยอยู่ในโรงเรือน เนื่องจากระยะเวลาสัมผัสยาฆ่าเชื้อไม่พอเพียง และสัตว์มีการขับเชื้ออยู่ตลอดเวลา และยังเป็นการสร้าง bioaerosols ให้ไวรัส การฆ่าเชื้อในอากาศให้ถูกวิธีต้องใช้กาซจาก formaldehyde รมในโรงเรือนปิด ซึ่งเป็นการดำเนินการหลังจากทำลายสัตว์ป่วยและไม่มีสัตว์อยู่ในโรงเรือน
- ในกรณีที่จำเป็นที่ต้องทำลายเชื้อที่อาจมีการปนเปื้อนตัวสัตว์ เช่น ในขณะเคลื่อน ย้ายสัตว์ กรมปศุสัตว์, 2544ข.) กำหนดให้ฉีดพ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโรคที่ตัวสัตว์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อป้องกันการปนเปื้อนเชื้อไวรัส FMD ภายนอกตัวสัตว์ที่จะ เคลื่อนย้าย ในกรณีเช่นนี้สามารถใช้สารละลายโซเดียมคาร์บอเนท 4% พ่น หรือใช้ในบ่อจุ่มอาบน้ำยา และต้องล้างออกโดยฉีดพ่นด้วยน้ำสะอาดเมื่อเวลา ผ่านไป 30 นาที (DEFRA, 2001)
- สำหรับสัตว์ที่ไม่ได้ใช้โรงเรือนในการเลี้ยงหรือกักสัตว์ เช่น ในการกักโค, กระบือ ซึ่งใช้ซองกักสัตว์ป่วยกลางแจ้ง ให้พ่นด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อโดยรอบซองกักวันละครั้ง เมื่อเลิกการกักก็ให้ทำการฆ่าเชื้อบริเวณกักโดยโรยปูนขาวหรือเผา
|
อัตราส่วนในการผสมสารละลายโซเดียมคาร์บอเนท 4%
ผงโซเดียมคาร์บอเนท
| น้ำสะอาด
|
40 กรัม (4 ช้อนโต๊ะ)
| 1 ลิตร
|
180 กรัม (1 กระป๋องนม)
| 4.5 ลิตร (1 แกลลอน)
|
800 กรัม (5 กระป๋องนม)
| 20 ลิตร (1 ปิ๊ป)
|
8 กิโลกรัม
| 200 ลิตร
|
ยาฆ่าเชื้อที่ดีควรจะมีคุณสมบัติในการล้างและการทำให้พื้นผิวเปียก จึงอาจเพิ่มประสิทธิภาพของ สารละลายโซเดียมคาร์บอเนท โดยเติมสารออกฤทธิ์ต่อพื้นผิว เช่น ผลิตภัณฑ์ซักล้างลงใน สารละลายตามอัตราส่วน ดังนี้
น้ำยาล้างจานหรือผงซักฟอก
| สารละลายโซเดียมคาร์บอเนท 4%
|
3 ซีซี (1 ช้อนชา)
| 1 ลิตร
|
15 ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ)
| 4.5 ลิตร (1 แกลลอน)
|
67 ซีซี (4.4 ช้อนโต๊ะ)
| 20 ลิตร (1 ปิ๊ป)
|
670 ซีซี (1.2 กิโลกรัม)
| 200 ลิตร
|
ตารางที่ 22 วิธีการและยาฆ่าเชื้อที่อาจเลือกใช้สำหรับ FMD ที่มา: AUSVETPLAN, 2000
สิ่งปนเปื้อน
| ยาฆ่าเชื้อ / วิธีการ
|
สัตว์มีชีวิต
| ทำลาย (ถ้าทำได้)
|
ซาก
| ฝังหรือเผา, 3, 4
|
โรงเรือนเลี้ยงสัตว์ / อุปกรณ์
| 2, 3
|
สิ่งแวดล้อม
| 3
|
คน
| 1, 4.2
|
อุปกรณ์ไฟฟ้า
| 5.3
|
น้ำ, ถังเก็บน้ำ
| 3
|
อาหารสัตว์
| ฝังหรือ 5.2
|
ขยะ
| ฝังหรือ 4
|
บ้านเรือน
| 2, 4.2
|
เครื่องจักร
| 3, 4
|
ยานพาหนะ
| 3, 4
|
เสื้อผ้า
| 2, 2.3, 3, 4.2
|
หมายเหตุ
1. สบู่และสารซักล้าง
2. สารออกซิไดซ์ 2.1) sodium hypochlorite, 2.2) calcium hypochlorite;
3. ด่าง 3.1) sodium hydroxide, 3.2) sodium carbonate;
4. กรด 4.1) hydrochloric acid 4.2) citric acid;
5. อัลดีไฮด์ 5.1) glutaraldehyde 5.2) formalin 5.3)formaldehyde gas
ตารางที่ 23 ยาฆ่าเชื้อที่ใช้ในการฆ่าเชื้อไวรัส FMD ที่มา: AUSVETPLAN, 2000
ยาฆ่าเชื้อ
| ความเข้มข้น ที่เตรียม
| ความเข้มข้นที่ได้
| ระยะเวลาฆ่าเชื้อ
| ข้อสังเกตในการใช้
|
สบู่และสารซักล้าง --------
|
|
| 10 นาที
| ล้างทำความสะอาด ฆ่าไวรัสไม่ได้ ยกเว้น ไวรัสกลุ่ม A ใช้ผสมกับ สารละลายโซ-เดียมคาร์บอเนตเพื่อ
เพิ่มประสิทธิภาพในการชำระล้าง
และทำให้พื้นผิวสัมผัสเปียก
|
สาร oxidizing --------
สารละลาย sodium hypochlorite (NaOCl) เข้มข้น 10-12%
สารละลาย calcium hypochlorite (Ca(OCl)2)เข้มข้น 10-12%
|
1:5
30 กรัม/ลิตร
| 2-3%
2-3%
| 10-30 นาที 10-30 นาที
| ไวรัสทุกกลุ่ม เว้นแต่มีสารอินทรีย์
ปะปน สลายตัวเมื่อมีความร้อน, แดด ที่ >15๐C
|
ด่าง --------
sodium hydroxide (caustic soda, เกล็ดโซดาไฟ)
sodium carbonate
- ผง anhydrous (Na2CO3)
- เกล็ด washing soda (Na2CO3
10H2O)
| 20 กรัม/ลิตร
40 กรัม/ลิตร
100 กรัม/ลิตร
| 2%W/V
4% W/V 10% W/V
| 10 นาที
10 นาที 30 นาที
| ไวรัสทุกกลุ่ม ไม่ควรใช้เมื่อมีอลูมิเนียมอัลลอยด์
ไวรัสทุกกลุ่ม แม้มีสารอินทรีย์ปะปน
|
กรด --------
น้ำกรด hydrochloric acid เข้มข้น (10 โมลาร์) ผง citric acid
| 1:50
2 กรัม/ลิตร
| 2% V/V
0.2% W/V
| 10 นาที
30 นาที
| ใช้เมื่อหาสารเคมีอื่นไม่ได้ มีฤทธิ์กัดกร่อนโลหะ, คอนกรีต
ใช้ล้างเสื้อผ้า ร่างกาย
|
อัลดีไฮด์ -------- สารละลาย glutaraldehyde
สารละลาย formalin
| ตามผลิตภัณฑ์ 1:12
| 2% W/V 8% V/V
| 10-30 นาที 10-30 นาที
| ไวรัสทุกกลุ่ม ใช้เข้มข้น แพง
ปล่อยกาซซึ่งเป็นอันตราย
|
Previous
Next