1  

ส่วนป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9 กรมปศุสัตว์


วัตถุประสงค์

ความหมาย การนำสัตว์ในบริเวณปนเปื้อนเข้าเลี้ยงดูภายในที่จำกัด เช่น ภายในซองเหล็ก หรือ รั้วลวดหนามล้อมพื้นที่จำกัด ทำให้สัตว์มีสภาพถูกแยกออกจากสิ่งแวดล้อม (isolation–segregation)
วัตถุประสงค์ ลดการสัมผัสโรคระหว่างสัตว์ปกติและสัตว์ป่วยโดยการสร้างความไม่ต่อเนื่อง
ระยะเวลา เริ่มตั้งแต่วันแรกที่พบโรคไปจนกระทั่งสัตว์ทุกตัวหายป่วยไปแล้วอย่างน้อย 7 วัน


วิธีการ

สัตว์ โค กระบือ  กักตามระดับการสัมผัสเชื้อ

ตารางที่ 18   ลำดับความสำคัญจากโอกาสสัมผัสเชื้อ
ชนิดสัตว์ ประเภทของ
การกัก
*  สัตว์ที่แสดงอาการป่วย 1
*  สัตว์ที่ยังไม่ป่วยแต่สัมผัสสัตว์ป่วย เช่น อยู่ในคอกเดียวกัน 1
*  สัตว์ที่ยังไม่ป่วยแต่เคยเลี้ยงในทำเลเดียวกันกับสัตว์ป่วย เช่น เลี้ยงในทุ่งเดียวกัน 2
*  สัตว์ที่ยังไม่ป่วยอยู่ในตำแหน่งปนเปื้อน แต่คาดว่าไม่น่าจะสัมผัสโรค เช่น อยู่ห่างจากสัตว์ป่วยมาก หรือสัมผัสตำแหน่งปนเปื้อนอย่างไม่ต่อเนื่อง เช่นเดินผ่านเส้นทางในตำแหน่งปนเปื้อน 3
หมายเหตุ
1.  กักกันอย่างเข้มงวดโดยใช้ซองเหล็ก
2.  กักโดยใช้ซองเหล็ก หรือ ป้องกันไม่ให้สัมผัสตำแหน่งปนเปื้อน ไม่ปล่อยแทะเล็มในทำเลเลี้ยงเดิม เลี้ยงไว้ในที่จำกัดแล้วติดตามอาการป่วย 14 วัน และ
3.  ป้องกันไม่ให้สัมผัสตำแหน่งปนเปื้อน และติดตามอาการป่วย 14 วัน

สุกร
การกักขังสัตว์์ คำนึงถึงบริเวณปนเปื้อน ชนิดและจำนวนสัตว์ และวิธีการเลี้ยงของเกษตรกรผู้เป็นเจ้าของ ดังนี้

เริ่มกัก
โค, กระบือ
กักเพิ่มเติม
ใช้หลักเข้าพร้อมกัน–ออกพร้อมกันในซองแต่ละชุด ไม่นำสัตว์ออกจากซองกักจนกว่าจะครบกำหนด แต่นำสัตว์เข้ากักขังเพิ่มเติมได้ดังนี้
โค, กระบือ
สุกร
เลิกกัก
การล้างฆ่าเชื้อ จะต้องทำล้างฆ่าเชื้อ บุคคล บริเวณ สิ่งของ อย่างเข้มงวดจนกว่าจะสิ้นสุดการกัก
การติดตามผล

 Top

แนวคิดในเรื่องการกักขัง แยก หรือย้ายสัตว์


การแยกสัตว์ป่วย (isolation of infected animals), การย้ายสัตว์ป่วย ( removal of infected animals) ออกจากตัวอื่นในฝูงด้วยการกักขัง (confine) เป็นการจัดการภายในฝูงเพื่อป้องกันสัตว์ส่วนใหญ่ในฝูงจากการสัมผัสเชื้อ สนับสนุนการกำจัดและลดปริมาณเชื้อ เพื่อรอระยะเวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับสัตว์ไวต่อโรคที่อยู่โดยรอบหรือภายนอกฝูง


ตารางที่ 19 วิธีการจัดสิ่งขวางกั้น และการจัดพื้นที่เว้นว่าง ที่มา: Hutbert and Kitching, 2000

วิธีการ ผล วิธีติดโรคที่ได้รับผลกระทบ*
* จัดรั้ว หรือสิ่งขวางกั้นระหว่างสัตว์ปกติไวต่อโรค และแหล่งเชื้อโรค (สัตว์ป่วย) หยุดหรือลดการสัมผัสไวรัส
ด้วยสิ่งขวางกั้น
1, 2
* ย้ายสัตว์ที่อยู่ในตำแหน่งเชื่อมต่อระหว่างกลุ่ม
ทำให้เกิดลักษณะแบ่งแยกออกจากกัน
หรือเป็นการกันสัตว์ปกติออกจากแหล่งเชื้อโรค
หยุดหรือลดการสัมผัสไวรัส
ด้วยพื้นที่เว้นว่าง
1, 2
* เพิ่มระยะทางระหว่างแต่ละซอง
หรือแต่ละกลุ่มของซอง
ลดการสัมผัสไวรัส
ด้วยพื้นที่เว้นว่าง
1, 2
* ลดขนาดพื้นที่ซอง แต่เพิ่มจำนวนซองกัก 1. ลดโอกาสสัมผัสระหว่างซองจากการ ที่พื้นที่เว้นว่างเพิ่มขึ้น (ในฟาร์ม หรือในพื้นที่จำกัด)
2. ลดอัตราการสัมผัสโรค
3
* ลดจำนวนสัตว์ในซอง 1. ลดจำนวนสัตว์ที่ไวต่อโรคในซอง
2. ลดอัตราสัมผัสโรค
3. ลดอัตราส่วนของสัตว์ไวต่อโรคต่อพื้นที่ว่าง
3


หมายเหตุ *
1.  การติดโรคจากการสัมผัสใกล้ชิด (contact spread),
2. การติดโรคทางอากาศในระยะใกล้ (short–distant airborne spread)
3. การติดโรคทางการกิน สัมผัสวิการ ร่วมฝูง ทางอากาศ

ตารางที่ 20  แนวทางทั่วไปในการแยกสัตว์ป่วย และกีดกันสัตว์ในอุบัติการ

สภาพการเลี้ยงทั่วไป แนวทางทั่วไป
*   โค
เลี้ยงปล่อยแทะเล็มในทำเลเลี้ยงสัตว์ร่วม เป็นฝูงย่อย รายละไม่เกิน 30 ตัว หรือเลี้ยงแบบผูกล่าม รายละ ไม่เกิน 1-5 ตัว ไล่ต้อนกลับคอก หรือไม่มีคอก 1. แยกสัตว์ป่วย สัตว์ที่อยู่ในระยะฟักตัวออกจากฝูง
2. ไม่มีสัตว์อยู่ในบริเวณปนเปื้อนโดยอิสระ
3. กันสัตว์ออกจากบริเวณปนเปื้อน หรือไม่ให้เข้าสู่บริเวณปนเปื้อน
*   สุกร
เลี้ยงและจัดการในโรงเรือน มีซองย่อยสำหรับสุกรขนาดใหญ่เป็นรายตัว และซองรวมสำหรับสุกรขนาดเล็ก 1. แยกสัตว์ป่วยออกจากโรงเรือน และแยกตัวที่แสดงอาการภายหลังเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
2. ล้างฆ่าเชื้อโรค
*    แพะ, แกะ
คล้ายคลึงกับโค แต่มีจำนวนเลี้ยงต่อรายน้อยกว่า และมีเลี้ยงในบางท้องที่เท่านั้น แยกสัตว์ทั้งฝูงออกจากทำเลเลี้ยงสัตว์ โดยขังไว้ในคอกตลอดเวลา


 Top