ยาฆ่าเชื้อไวรัสที่สำคัญ
สารออกฤทธิ์ต่อพื้นผิว (surfactant)
- สารออกฤทธิ์ต่อพื้นผิวชนิดไอออนลบ (anionic surfactant) ได้แก่ สบู่ และผลิตภัณฑ์ซักล้าง มีฤทธิ์ในการชำระล้าง แต่มีฤทธิ์น้อยในการทำลายแบคทีเรีย
สบู่ (soaps) เกิดจากการทำปฏิกริยาของน้ำมันหรือไขมันกับด่าง จะมีองค์ประกอบทั่วไป ในสูตร
RCOONa สบู่แตกตัวในน้ำเป็นไอออนของโซเดียม (sodium ion, Na+) และอิออนของกรดไขมัน (fatty acid ions, R COO) เกิดการชำระล้าง โดยการจับตัวของปลายโมเลกุลด้านไฮโดรคาร์บอนกับไขมันซึ่งจะมีพวกแบคทีเรียอยู่และจะถูกชะล้างออกไป ถ้าน้ำใช้มีความกระด้างไอออนของกรดไขมันในสบู่จะทำปฏิกริยากับไอออนของแคลเซียมในน้ำ (calcium ion, Ca++)เกิดตะกอนซึ่งไม่ละลายน้ำ
สารซักล้าง (detergents)เป็นเกลือโซเดียมของ alkyl sulfates หรือ sulfonates มีองค์ประกอบ ทั่วไปตามสูตร CH3(CH2)mCH2SO3H ตัวอย่างได้แก่ sodium lauryl sulfate, alkyl benzene sulfonates (ABS) เป็นองค์ประกอบหลักในสารซักล้างในครัวเรือน เช่น ผลิตภัณฑ์ซักล้าง, น้ำยาล้างจาน หรือผงซักฟอก เป็นต้น สารเหล่านี้ไม่จับตัวกับแคลเซียมในน้ำกระด้าง จึงสามารถใช้ได้กับน้ำทุกชนิด สามารถทะลุผ่านแผ่นฟิล์มไขมันที่จับสิ่งสกปรกอยู่ และมีคุณสมบัติในการทำให้เปียกอีกด้วย
สบู่และสารซักล้างจะทำให้โปรตีนเสื่อมสภาพโดยลดความตึงผิวและรบกวนคุณสมบัติของเยื่อหุ้มเซลแบคทีเรีย โดยทั่วไปใช้สบู่และสารซักล้างชะล้างทำความสะอาด ขจัดสารอินทรีย์ สิ่งสกปรก ไขมันจากพื้นผิวที่จะฆ่าเชื้อโรค ก่อนการฆ่าเชื้อด้วยยาฆ่าเชื้อเฉพาะ นอกจากนั้นแล้วการใช้น้ำร้อนและการใช้แปรงขัดถู จะมีส่วนช่วยในปฏิกริยาชะล้างจะทำให้เชื้อโรคถูกชะล้างออกไปด้วย
- สารออกฤทธิ์ต่อพื้นผิวชนิดไอออนบวก (cationic surfactants) ซึ่งได้แก่ สารประกอบ quaternary ammonium ออกฤทธิ์ได้ดีกว่าชนิดไอออนลบ มีฤทธิ์ที่อ่อนในการชำระล้าง ออกฤทธิ์ได้น้อยต่อไวรัส แต่ออกฤทธิ์ได้แรงต่อแบคทีเรียจากการที่สารถูกดูดซึมเข้าบนผนังเซลของแบคทีเรีย
สารออกฤทธิ์ฯ ชนิดไอออนบวกจะรวมตัวทันทีต่อโปรตีน ไขมัน และพวกฟอสเฟต จึงมักใช้ไม่ได้ผลเมื่อมีซีรั่ม เลือด หรือเศษเนื้อเยื่ออยู่ด้วย นอกจากนั้นสิ่งสกปรกที่ปนเปื้อนพวกเศษธุลีดิน มักเป็นสารประกอบแร่ธาตุซึ่งจะมีประจุลบในสารละลาย ถ้าใช้สารออกฤทธิ์ ฯ ชนิดไอออนบวกในสารละลายจะมีแรงดึงดูดทางไฟฟ้าสถิตย์ทำให้นำสิ่งสกปรกออกได้ลดลง ดังนั้น ในการชำระล้าง โดยปกติจะไม่ใช้สารออกฤทธิ์ฯ ชนิดไอออนบวก (Myers, 1992)
- สารฯ ชนิดไอออนบวก มีขั้วซึ่งเป็นประจุบวก ในขณะที่พวกสบู่จะมีประจุลบ ดังนั้นจึงไม่สามารถนำสารทั้งสองประเภทมาผสมหรือใช้ร่วมกันได้
- สารประกอบ quaternary ammonium จะเข้ากันได้กับยาฆ่าเชื้อพวก phenols จึงมีการนำมาผลิตเป็นยาฆ่าเชื้อชนิดผสม ออกฤทธิ์ฆ่าทั้งแบคทีเรียและไวรัสกลุ่ม A แต่มีฤทธิ์จำกัดและไม่ออกฤทธิ์ต่อไวรัสกลุ่ม B
ด่าง (alkalais)
- ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อไวรัส มีราคาถูก เช่น sodium hydroxide และ sodium carbonate มีคุณสมบัติในการเป็นสบู่ได้ตามธรรมชาติเมื่อพบกับไขมันและสารอินทรีย์ สามารถฆ่าเชื้อไวรัสได้ดีแม้มีการสะสมอย่างหนักของสารอินทรีย์ ด่างจึงเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดในการฆ่าเชื้อในโรงเรือน น้ำทิ้ง จุดรวมมูลฝอย
กลไกของด่างอยู่ที่การปล่อย OH ที่ pH > 9 จะยับยั้งแบคทีเรียทุกชนิด และที่ pH > 11 ไวรัส FMD จะตายอย่างรวดเร็ว มีด่างซึ่งเป็นสารสามัญในพื้นที่หลายชนิดที่อาจนำมาใช้ได้ ดังนี้
- โซดาไฟ (caustic soda, soda lye) เป็นด่างที่มี 94% NaOH (sodium hydroxide) ออกฤทธิ์ฆ่า เชื้อแบคทีเรียทั่วไปรวมถึงปรสิต ทำลายสปอร์ของเชื้อแอนแทรกซ์ได้ที่ความเข้มข้น 5 % ความเข้มข้นที่แนะนำให้ใช้สำหรับไวรัส FMD คือ สารละลาย 2% (440 g/ 20 L) ใช้น้ำร้อนหรือน้ำเดือด สารละลายนี้เป็นสารพิษที่ออกฤทธิ์กัดกร่อน ดังนั้น จึงควรระมัดระวังไม่ให้ถูกตัวสัตว์ สารละลายจะทำลายสี เสื้อผ้า หากจุ่มแช่เป็นเวลานาน แต่ไม่มี ผล ต่อไม้ กระเบื้อง อิฐ ปูน และโลหะทั่วไป ยกเว้นอลูมิเนียม
เมื่อเตรียมสารละลายแล้วควรปิดฝาถังสารละลาย เพื่อป้องกันการเปลี่ยนสภาพของ sodium hydroxide ไปเป็น sodium carbonate โดย carbon dioxide ในอากาศ
สารละลาย sodium hydroxide จะไม่คงตัวเมื่อนำมาใช้ในสภาพธรรมชาติ โดยจะทำปฏิกริยาไขมันหรือน้ำมัน กลายเป็นสบู่ ทำให้ฤทธิ์ความเป็นด่างไม่ทนนาน ในที่ซึ่งมีไขมันหรือน้ำมันปนเปื้อนมากจึงอาจไม่ได้ผล เนื่องจากมีข้อควรระมัดระวังในการใช้หลายประการดังกล่าวแล้ว ในบางประเทศจึง เห็นว่า โซดาไฟ มีความไม่เหมาะสมในการนำมาใช้ควบคุมโรค FMD ในพื้นที่ (AHDA, 2001)
- โซเดียมคาร์บอเนท หรือโซดาแอช (sodium carbonate, washing soda, soda ash)
แตกตัว ในน้ำ ดังสมการ
H2O + CO3= ---------> HCO3 + OH สารละลายโซเดียมคาร์บอเนท มีฤทธิ์
ในการชำระล้าง (detergency) และสารละลายมีฤทธิ์ตกค้างในการฆ่าเชื้อที่ยาวนาน จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมที่สุด ในการฆ่าเชื้อไวรัส FMD ในท้องที่ เมื่อพิจารณาจากทุกด้าน กรมปศุสัตว์ได้แนะนำให้ใช้เป็นยาฆ่าเชื้อไวรัส FMD ในรูปสารละลาย 4% (40 กรัม/ลิตร ใช้น้ำสะอาด) โดยที่ยาฆ่าเชื้อที่ดีควรจะมีคุณสมบัติในการล้างและการทำให้พื้นผิวเปียก จึงอาจเพิ่มประสิทธิภาพของสารละลายโซเดียมคาร์บอเนท โดยเติมผลิตภัณฑ์ซักล้าง เช่น เติมน้ำยาล้างจาน หรือสารซักฟอก 15 ซีซี (1 ช้อนโต๊ะ) ลงในสารละลาย 4.5 ลิตร (1 แกลลอน) หรือประมาณ 670 ซีซี ลงในสารละลาย 200 ลิตร (DEFRA, 2001)
สารละลายโซเดียมคาร์บอเนทสามารถใช้ในการล้างและฆ่าเชื้อพื้นผิวภายนอก ไม่ว่าจะเป็นคอกสัตว์, รถยนต์, อุปกรณ์, รองเท้าบูท, รางน้ำ , รางอาหาร และ พื้นที่กักสัตว์ ตำแหน่งที่มีสัตว์รวมฝูงอยู่ ฯลฯ รวมถึง ใช้ล้างมือ และขัดถูเล็บมือในสารละลายนี้ได้ ในพื้นที่มีดินโคลนก็อาจใช้สารละลายฯ ในความเข้มข้นเท่าตัว เนื่องจากสารละลายโซเดียมคาร์บอเนทกัดกร่อนโลหะและสี ในบางจุดที่ไม่เหมาะสมจึงอาจเลี่ยงไปใช้สารละลายกรด citric ผสมสารซักล้าง
- วัสดุปูน ใช้เพิ่มความเป็นด่างในทางการเกษตรทั่วไป ที่สำคัญได้แก่ กลุ่มปูนออกไซด์ ปูนเผา ปูนขาว (quicklime, calcium oxide, CaO) มีลักษณะเป็นผงสีขาวซึ่งมี 95% CaO ได้มาจาก การเผาหินปูนหรือปูนคาร์บอเนต และเติมน้ำในกระบวนการผลิต ทำให้ได้ผงปูนขาว (hydrate lime, Ca(OH)2) เมื่อผงปูนขาวถูกความชื้นหรือน้ำจะมีความร้อนเกิดขึ้นและได้น้ำปูนขาว (slaked lime, calcium hydroxide, Ca(OH)2) เมื่อนำผงปูนขาวละลายน้ำ CaO จะถูกเปลี่ยนไปเป็น Ca(OH)2อย่างเต็มที่ และเมื่อถูกน้ำนานเข้าจะทำให้สารถูกเปลี่ยนเป็น calcium carbonate ซึ่งจะเสถียรและไม่มีประโยชน์ต่อการฆ่าเชื้อโรค ผงปูนขาวอาจเข้าตาและถูกสูดเข้าทางลมหายใจ ซึ่งจะทำอันตรายต่อเนื้อเยื่อ ผงปูนขาวมีราคาถูกจึงอาจนำมาใช้เป็นยาฆ่าเชื้อในคอกสัตว์ (Huber, 1982) โดยโรยปูนขาวตามคอกหรือพื้นดิน พื้นคอนกรีต และจะต้องระมัดระวังไม่โรยมากเกินไปเนื่องจากจะทำให้ผิวหนังและกีบเท้าของสัตว์แห้ง ผิวหนังลอกหลุด และเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายในภายหลัง อีกทั้งการออกฤทธิ์ไม่ยืนนาน ดังนั้นจึงมีความไม่เหมาะสมในการนำมาใช้เมื่อมีสัตว์อยู่ แต่มีข้อดี คือหาได้ง่ายในท้องถิ่นและมีราคาถูก
กรด (acids)
เป็นยาฆ่าเชื้อที่ออกฤทธิ์ได้ดีต่อไวรัส มีหลายชนิดที่อาจนำมาใช้ได้ เช่น กรด hydrochloric เป็นกรดแก่ที่เป็นพิษน้อยกว่ากรดแก่ชนิดอื่น กรด citric มีฤทธิ์ปานกลาง จึงใช้ในการฆ่าเชื้อบุคคลและเสื้อผ้าได้ และสามารถใช้ผสมกับสารซักล้างเพื่อการออกฤทธิ์ต่อเชื้อไวรัส FMD
การออกฤทธิ์ของกรดจะรวดเร็วกว่าสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต จึงแนะนำให้ใช้กรดเมื่อไม่มีสารละลายโซเดียมคาร์บอเนต หรือจำเป็นต้องลดระยะเวลาในการฆ่าเชื้อ
- สารละลาย 0.2% citric acid เตรียมโดยละลายเกล็ด citric acid 30 กรัม ลงในน้ำ 15 ลิตร ระยะเวลา ที่ใช้ ฆ่าเชื้อ FMD เพียง 1 นาที
- สารละลาย 0.2% sulphamic acid เตรียมโดยละลายเกล็ด sulphamic acid 30 กรัม ลงในน้ำ 15 ลิตร กรดซัลฟามิกมีผลน้อยต่อวัสดุพวกโลหะ พื้นผิวที่ทาสีพลาสติกและยาง ระยะเวลาที่ใช้ฆ่าเชื้อ ประมาณ 5 นาที หลังจากนั้นจะต้องล้างออกด้วยน้ำ
- สารละลาย 0.3% ortho-phosphoric acid เตรียมโดยละลาย ortho-phosphoric acid 15 ซีซี ลง ใน น้ำ 4.5 ลิตร อาจเติมผลิตภัณฑ์ชำระล้าง เช่น น้ำยาล้างจาน 15 ซีซี. ต่อสารละลาย 4.5 ลิตร ใช้ทำ ความสะอาดและฆ่าเชื้อพื้นผิววัสดุ เช่น โรงเรือน, รถ, อุปกรณ์ , รองเท้า ฯลฯ
- สารละลายนี้สามารถใช้พ่นถูกตัวสัตว์ เพื่อฆ่าเชื้อที่ขนแกะ และล้างออกหลังจากพ่น 30 นาที
- ในการเตรียมสารละลายกรดหรือด่าง ต้องเติมสารลงในน้ำ อย่าเติมน้ำใส่สาร
- ไม่ผสมน้ำยาฆ่าเชื้อที่เป็นกรดและด่างเข้าด้วยกัน เพราะจะเกิดปฏิกริยาต่อกัน และประสิทธิภาพในการฆ่าเชื้อจะหมดไป การสัมผัสสารเข้มข้นโดยตรงจะทำให้ผิวหนังไหม้ ผู้ปฏิบัติงานต้องสวมรองเท้าบูท แว่นตากันฝุ่น ชุดเสื้อกางเกงกันเปื้อน ระวังการสูดดม ถ้าเกิดการสัมผัสให้ล้างด้วยน้ำปริมาณมาก ๆ ทันที
ตารางที่ 26 การเปรียบเทียบยาฆ่าเชื้อไวรัส FMD ที่มา : พยนต์และคณะ, 2543
ยาฆ่าเชื้อ
| องค์ประกอบสำคัญ
| 22๐C
| 37๐C
|
Crente**
| sodium dichloroisocyanate
| 1:500 (0.2%)
| 1:500 (0.2%)
|
Virkon S**
| peroxopotassium hydrogen sulphate
| 1:250 (0.4%)
| 1:250 (0.4%)
|
Glutar-Z**
| glutaraldehyde 25%
| 1:100 (1%)
| 1:200 (0.5%)
|
Speedyne**
| iodophor 3%
| 1:200 (0.5%)
| 1:400 (0.25%)
|
NaOH 99%
| alkaline group
| 1:100 (1%)
| 1:100 (1%)
|
Na2Co3
| sodium carbonate
| 4%
| 2%
|
หมายเหตุ * ขนาดความเข้มข้นซึ่งฆ่าไวรัส FMD ได้อย่างสมบูรณ์ ภายในเวลา 5 นาที
** ชื่อการค้า
สาร oxidising (oxidising agents)
- คลอรีน (chlorines) คลอรีนที่ใช้ในการฆ่าเชื้อโรคจะหมายถึงสารประกอบที่เป็นส่วนผสมของ OCl Cl2 และ HOCl ความแรงในการออกฤทธิ์ของคลอรีนจะระบุเป็นส่วนในล้านส่วน (parts per million, ppm) หรือ % ของคลอรีนที่ให้ (% of available chlorine, avCl) คลอรีนที่ถูกปล่อยจาก สาร sodium หรือ calcium hypochlorite มีฤทธิ์ในการทำลายไวรัสทุกกลุ่ม
- คลอรีนใช้ป้องกันเชื้อโรคที่มากับน้ำ เป็นสารที่ใช้ในการทำลายเชื้อโรคในน้ำดื่ม สามารถเปลี่ยนลักษณะทางเคมีของน้ำ โดยกาซคลอรีนจะทำปฏิกริยากับน้ำได้กรด hypochlorous ตามสมดุลเคมี
Cl2+H2O <----------> HOCl + H+ Cl และ
กรด hypochlorous จะแตกตัวต่อไป ดังนี้
HOCl< ----------> H+ + OCl
ความเข้มข้นของ HOCl และ OCl ขึ้นกับ pH ของน้ำ หากเป็นด่าง สมดุลของปฏิกริยาแรกจะเลื่อนไปทางขวา เกิด HOCl ในปริมาณสูง ทั้ง HOCl และ OCl เป็น คลอรีนอิสระที่จะทำปฏิกริยาต่อสารประกอบในน้ำ เช่น สารอินทรีย์ คลอรีนที่ใช้กันทั่วไปจะอยู่ในรูปสารประกอบ ได้แก่ calcium hypochlorite (Ca(OCl2)) ซึ่งเป็นผงแห้ง เมื่อละลายน้ำจะได้คลอรีน 70 % และ sodium hypochlorite (NaOCl) ซึ่งเป็นของเหลว มีความเข้มข้นประมาณ 515%
- ฤทธิ์ในการทำลายเชื้อโรคของคลอรีนอยู่ที่ความสามารถของ HOCl ในการ oxidize โปรตีนในเชื้อโรค เนื่องจาก HOCl เป็นกลางและมีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ จึงสามารถทะลุทะลวงเชื้อได้โดยง่ายดาย
ความสามารถในการฆ่าเชื้อของคลอรีนจะลดลงอย่างมากเมื่อ pH เพิ่มสูงขึ้น หรือการมีองค์ประกอบของ OCl สูงขึ้น เพราะความเป็นลบของโมเลกุล จะทำให้เกิดแรงผลัก ของ ประจุระหว่างคลอรีนและปลาย carboxyl ของโปรตีน ประสิทธิภาพของสาร hypochlorite จะดีที่สุดในช่วง pH 6-9 และลดลงอย่างรวดเร็วในสภาพมีสารอินทรีย์และไม่เสถียร โดยจะสลายตัวอย่างรวดเร็วที่อุณหภูมิสูงกว่า 15๐C
ในการใช้คลอรีนฆ่าเชื้อในน้ำดื่มพบว่า hypochlorite ออกฤทธิ์ไม่ดีในการทำลายเชื้อไวรัส เมื่อเปรียบเทียบกับแบคทีเรีย coliform เนื่องจากไวรัสไม่มีปฏิกริยา metabolic ในสิ่งแวดล้อม (Margolin, 1997)
ปัญหาที่ทำให้การฆ่าเชื้อไม่ได้ผล
ปัญหาเกี่ยวกับยาฆ่าเชื้อ
- เลือกยาฆ่าเชื้อที่ไม่มีฤทธิ์ต่อไวรัส FMD
- ใช้ยาฆ่าเชื้อที่มีฤทธิ์ แต่ความเข้มข้นไม่ถูกต้อง หรือน้ำยาฆ่าเชื้อเตรียมไว้นานเกินไป
- ใช้เวลาในการฆ่าเชื้อไม่พอเพียง
- การผสมยาต่างชนิดเข้าด้วยกันโดยไม่มีข้อมูลวิธีการใช้ที่แน่ชัด
ปัญหาเกี่ยวกับสภาพแวดล้อม
- มีสารอินทรีย์มาก เนื่องจากล้างทำความสะอาดไม่เพียงพอก่อนที่จะใช้ยาฆ่าเชื้อ
- วิธีใช้ยาฆ่าเชื้อไม่ถูกต้อง ใช้อุปกรณ์ที่ไม่เหมาะสม
- ปริมาณน้ำยาน้อยไป พื้นผิวไม่เปียก ยาฆ่าเชื้อไม่ได้สัมผัสพื้นผิวอย่างทั่วถึง
- น้ำใช้ไม่สะอาด
- สภาพแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อประสิทธิภาพน้ำยาฆ่าเชื้อ เช่นสภาพคอกที่หมักหมมด้วยสิ่งปฏิกูล ที่ไม่สามารถล้างออกก่อนได้ ก็ควรเพิ่ม ความเข้มข้น และเวลา ที่ใช้ในการฆ่าเชื้อด้วย
ไม่ได้ทำการควบคุมปัจจัยอื่น
- มีสัตว์ที่ขับเชื้อได้อยู่ในโรงเรือน หรือนำ carriers เข้ามา
- การติดเชื้อทางอากาศ อาหาร
- พาหะนำโรค ได้แก่ บุคคล ยานยนต์ แมลง หนู ฯลฯ
ตารางที่ 27 ปัจจัยทางสิ่งแวดล้อมที่รบกวนการออกฤทธิ์ของยาฆ่าเชื้อ ที่มา: Quinn, 1991
ยาฆ่าเชื้อ
| สารอินทรีย์
| pH
| ความชื้นสัมพัทธ์
| สบู่และสารซักล้าง
| น้ำกระด้าง
|
กรด
| +
| +
| -
| -
| +/-
|
อัลกอฮอล์
| +
| -
| -
| -
| -
|
ด่าง
| +
| +
| -
| -
| +/-
|
formalin
| +/-
| -
| +
| -
| -
|
gas (formalin)
| +
| -
| +
| -
| -
|
glutaraldehyde
| +/-
| +
| -
| -
| +/-
|
halogen
| +
| +
| -
| -
| +/-
|
oxidizing agents
| +
| -
| -
| -
| -
|
phenolic compound
| +/-
| +
| -
| -
| +/-
|
quaternary ammonium compound
| +/-
| +
| -
| +
| +/-
|
หมายเหตุ + มีผลต่อต้าน, - ไม่มีผล, +/- มีผลขึ้นกับปริมาณที่ใช้
Previous
Next