1  

ส่วนป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9 กรมปศุสัตว์


วัตถุประสงค์

ความหมาย การจำแนกรายละเอียดเกี่ยวกับแหล่งของโรคและพื้นที่เกิดโรค
วัตถุประสงค์ เพื่อจำแนกเขตปฏิบัติการในการระบาด ซึ่งจะเป็นแนวทางกำหนดกิจกรรมในการ ดำเนินการควบคุมโรคต่อไป
ระยะเวลา ในวันแรกที่พบโรค ต่อเนื่องเป็นรายสัปดาห์ จนกระทั่งถึง 4 สัปดาห์ หลังจากสัตว์ป่วยตัวสุดท้ายหายป่วย


วิธีการ

ขั้นเตรียมการ 1. เตรียมความพร้อมของอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้ 2. สร้างบุคลากรระดับเกษตรกรเพื่อเฝ้าระวังโรคในพื้นที่
การสอบสวนโรค
การกำหนดเขต บริเวณปนเปื้อน
ทำเครื่องหมายลงในแผนที่ ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นบริเวณปนเปื้อน

โค, กระบือ, แพะ, แกะ
สุกร
เขตควบคุมโรคชั้นใน

ทำเครื่องหมายลงในแผนที่ ให้พื้นที่ต่อไปนี้เป็นเขตควบคุมโรคชั้นใน
โค, กระบือ, แพะ, แกะ
สุกร
เขตควบคุมโรคชั้นนอกหรือเขตเฝ้าระวังโรค

ให้ระบุขอบเขตดังต่อไปนี้เป็นเขตควบคุมโรคชั้นนอก
การติดตามผล



แนวคิดในเรื่องเขตควบคุมโรค


การกำหนดเขตควบคุมโรคมีประโยชน์ในการจำแนกลักษณะการปฏิบัติงานในพื้นที่แต่ละเขต ทำให้การปฏิบัติงานมีทิศทางที่ชัดเจน ไม่สับสน โดยมีแนวทางดังนี้


บริเวณปนเปื้อน

เป็นตำแหน่งหรือบริเวณที่พบสัตว์ป่วยหรือทำการกักกันสัตว์ป่วยอยู่ รวมถึงพื้นที่ซึ่งสัตว์ที่ปกติ อาจได้รับการสัมผัสตัวป่วยมาแล้ว บริเวณปนเปื้อนจึงอาจจะเป็นครัวเรือนของเกษตรกร ฟาร์ม พื้นที่ที่เกษตรกรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน แปลงหญ้าสาธารณะ ตลาดค้าสัตว์ หรือจุดลงสัตว์ บริเวณปนเปื้อน จึงอาจ ไม่ได้มีเพียงจุดเดียว และถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของโรค ในบริเวณนี้มีกิจกรรม ดังนี้


ภาพที่ 20  ภาพตัวอย่างการกำหนดเขตควบคุมโรค


เขตควบคุมโรคชั้นใน

เป็นพื้นที่รอบบริเวณปนเปื้อนควรมีรัศมีอย่างน้อยประมาณ 1–5 กม.รอบบริเวณปนเปื้อน ทั้งนี้ให้พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนต่อการแพร่กระจายเชื้อด้วย เช่น ความหนาแน่นของสัตว์ ชนิดสัตว์ในบริเวณนั้นที่สามารถติดโรคได้ ทำเลเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน ระยะทางและเส้นทางที่ใช้ในการต้อนสัตว์ไปเลี้ยง เป็นต้น


เขตควบคุมโรคชั้นในเป็นเขตที่ไม่มีสัตว์ป่วย และจะมีการฉีดวัคซีนวงแหวนในเขตนี้ รูปร่างของ เขต ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปวงกลม โดยสามารถมีรูปร่างใดก็ได้ขึ้นกับข้อมูล การสอบสวนโรคในเขตนี้จะมีกิจกรรม ดังนี้

เขตควบคุมโรคชั้นนอกหรือเขตเฝ้าระวังโรค

เป็นเขตที่กว้างขวางล้อมรอบเขตควบคุมโรคชั้นในทั้งหมด หากมีเขตโรคระบาดหลายจุดในคราวเดียวกันก็อาจกำหนดให้เป็นเฉพาะอำเภอนั้น หรือบางส่วนของอำเภอข้างเคียง หรือ พื้นที่ทั้งจังหวัดแล้วแต่กรณี โดยจะเป็นเขตกันชนระหว่างเขตควบคุมโรคชั้นในกับพื้นที่ด้านนอก เขตเฝ้าระวังเป็นเขตที่จะจัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคเพื่อการเตือนภัยสำหรับพื้นที่ปกติที่อยู่ข้างเคียง และจะต้องระบุขอบเขตที่แน่นอน ในเขตนี้จะมีกิจกรรม ดังนี้



ตารางที่ 16   ลักษณะของประชากรเมื่อเกิดอุบัติการโรค


  โครงสร้างของกลุ่มหรือ
ประชากรสัตว์
 บริเวณปนเปื้อน  เขตควบคุมโรค
ชั้นใน
 เขตควบคุมโรค
ชั้นนอก
สัตว์ปกติไม่มีภูมิคุ้มกันโรค (susceptibles) + + + + + ++ + + + + +
สัตว์ป่วย (infectives) + 0 0
สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรค (immunes)
  เคยป่วย (recover-carriers) 0 0 0
  ฉีดวัคซีน (vaccinated) 0 0 0


++++ มีจำนวนมาก, + มีจำนวนน้อย, 0 ไม่มี


ตารางที่ 17   ผลลัพธ์ประชากรที่ต้องการจากการควบคุมโรค


  โครงสร้างของกลุ่มหรือ
ประชากรสัตว์
 บริเวณปนเปื้อน  เขตควบคุมโรค
ชั้นใน
 เขตควบคุมโรค
ชั้นนอก
สัตว์ปกติไม่มีภูมิคุ้มกันโรค (susceptibles) ++++ 0 ++++
สัตว์ป่วย (infectives) 0 0 0
สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรค (immunes)
  เคยป่วย (recover-carriers) + 0 0
  ฉีดวัคซีน (vaccinated) 0 ++++ 0


++++ ให้มีจำนวนมากที่สุด, + ให้มีจำนวนน้อยที่สุด, 0 ไม่มี


 Top