1  

ส่วนป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9 กรมปศุสัตว์


ที่นี่: Home>โรคระบาด>โรคปากและเท้าเปื่อย>คู่มือควบคุมโรค>วิธีควบคุมโรค: หลักการและเหตุผล


วิธีควบคุมโรค: หลักการและเหตุผล


การกำหนดเขตปฏิบัติการ|
การกักสัตว์|
การรักษาสัตว์ป่วย|
การฉีดวัคซีนแบบวงแหวน|
การล้างฆ่าเชื้อโรค

นโยบาย


กำจัดโรคโดยใช้วิธีการควบคุมโรคที่เหมาะสม ทำให้มีจำนวนสัตว์ป่วยน้อยที่สุดในอุบัติการแต่ละครั้ง ส่งผลให้โรคสงบอย่างรวดเร็ว โดยมีค่าใช้จ่ายในการควบคุมโรคและผลกระทบต่อเกษตรกรน้อยที่สุด


เหตุผล

1. ปิดล้อมอุบัติการให้อยู่ในวงจำกัดด้วยการควบคุมโรค ทำให้สถานการณ์หยุดนิ่งไม่ขยายตัว โดย

2. การควบคุมโรคที่ถูกต้องเหมาะสมจะทำให้การระบาดมีขนาดเล็ก โดย

หลักการและเหตุผล


การกำหนดเขตปฏิบัติการ

1. ในพื้นที่อุบัติการ มีความต้องการปฏิบัติการที่แตกต่างกันตามระดับการปนเปื้อนของเชื้อ ได้แก่ บริเวณปนเปื้อน ซึ่งเป็นจุดศูนย์กลางของโรคมีความต้องการปฏิบัติการยับยั้ง ทำลายหรือลด จำนวนไวรัส และมีความเข้มงวดสูงสุดเพื่อลดการแพร่กระจายไวรัส

2. การกำหนดเขตปฏิบัติการ เป็นกรอบกำหนดแบบวิธีการที่ใช้ในการควบคุมโรคที่ใช้ในแต่ละเขต เพิ่มประสิทธิภาพในการจัดการทรัพยากรทั้งด้านงบประมาณและบุคลากร


การกักสัตว์

1. การป้องกันการสัมผัสเชื้อไวรัสเป็นวิธีการยับยั้งการเกิดโรคเสียตั้งแต่ต้น การกักสัตว์ป่วยจะลดโอกาส ในการกระจายเชื้อไวรัสไปสู่สัตว์ปกติ การปนเปื้อนในสิ่งแวดล้อมจะลดลงเนื่องจากเชื้อไวรัส ในสิ่งแวดล้อมจะหมดฤทธิ์ลงตามธรรมชาติ และจากการที่ไม่มีไวรัสถูกขับออกเพิ่มเติม

2. การกักสัตว์ป่วยช่วยป้องกันไม่ให้เชื้อไวรัสกระจายไปสู่สัตว์ที่ได้รับวัคซีนไปแล้ว แต่ยังมีระยะ เวลา ไม่เพียงพอในการสร้างภูมิคุ้มกันโรค

3.  เป็นวิธีที่สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย

การรักษาสัตว์ป่วย

1. สัตว์ป่วยไม่ได้แพร่เชื้ออย่างคงที่แต่จะลดลงตามระยะเวลา ระยะที่สัตว์แสดงอาการป่วยเป็นระยะ ที่ขับเชื้อในปริมาณสูงสุด

2. การรักษาสัตว์ป่วยโดยการใช้ยาปฏิชีวนะจะป้องกันเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน ทำให้สัตว์หายจากอาการป่วยรวดเร็วขึ้น และนำสัตว์ไปสู่ระยะที่ขับเชื้อลดลง

3. ยาปฏิชีวนะในปัจจุบันเป็นชนิดออกฤทธิ์นาน ทำให้มีความสะดวกในการใช้ ลดภาระในการให้ยา

4.  การรักษาพยาบาลและการสุขาภิบาลสัตว์ป่วยมีความจำเป็นต่อสัตว์ป่วยที่ถูกกักขังในที่จำกัด

5.  เกษตรกรต่อต้านการทำลายสัตว์ป่วย จึงจำเป็นที่จะต้องมีการรักษาตามความเหมาะสม

6.  การรักษาสัตว์ป่วยเป็นวิธีการที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุดเปรียบเทียบกับวิธีการทั้งหมด

การฉีดวัคซีนแบบวงแหวน

1. หลังเกิดอุบัติการ ไวรัส FMD จะ แพร่กระจายออกจากตัวป่วยไปสู่สภาพแวดล้อม

2. วัคซีนทำให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรคได้ หากมีช่วงเวลาที่เพียงพอ

3. ผลของภูมิคุ้มกันฝูงที่เกิดขึ้นจากการรับวัคซีน จะทำให้โรคจางหายไป

4. วัคซีน FMD ชนิดไตรวาเลนท์ มีความสะดวกในการใช้งาน ด้วยการฉีดเพียงครั้งเดียว

5.  การฉีดวัคซีนในการควบคุมโรค เป็นการฉีดวัคซีนหลังเกิดอุบัติการ มีเป้าหมายจำกัดเฉพาะสัตว์ที่อยู่รอบอุบัติการ สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายและแรงงานน้อยกว่าการฉีดวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้าหรือการฉีดแบบปูพรมทั้งพื้นที่

การล้างฆ่าเชื้อโรค

1. ไวรัสที่ถูกขับออกมาจากร่างกายสัตว์จะเสื่อมสลายไปตามธรรมชาติ แต่หากมีปัจจัยที่เหมาะสม ก็จะทำให้ไวรัสมีชีวิตอยู่ได้เป็นเวลานานเพียงพอต่อการกระจายโรค หรือถูกพาไปกับตัวนำ

2. การล้างฆ่าเชื้อโรค จะทำให้ไวรัสที่ปนเปื้อนถูกทำลายรวดเร็วกว่าการปล่อยให้เสื่อมสลายไปตามธรรมชาติ

3. การล้างฆ่าเชื้อโรคมีผลกระทบต่ออุบัติการ คือ

4. การล้างฆ่าเชื้อโรค ทำให้สามารถนำวัสดุอุปกรณ์ที่ปนเปื้อนแล้วกลับมาใช้งานได้ใหม่อย่างปลอดภัย

5. การล้างฆ่าเชื้อโรค FMD ด้วยสารเคมี มีประสิทธิภาพสูงเพียงพอและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย