1  

ส่วนป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที 9  กรมปศุสัตว์

โรคบรูเซลโลซิส Brucellosis (Brucella abortus)
( Bang’s disease, Malta fever (คน), Undulent fever (คน) )

สาเหตุของโรคและสัตว์เป็นโรค

สาเหตุจากเชื้อแบคทีเรีย Brucella abortus โรคนี้เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน มีความสำคัญทางสาธารณสุข บรูเซลโลซิสเป็นโรคของระบบสืบพันธุ์ อาการป่วยในสัตว์ที่พบ ได้แก่ แท้ง รกค้าง ไม่สมบูรณ์พันธุ์ อาการในคนจะมีอาการเหมือนอาการหวัด และไม่มีลักษณะเฉพาะ Brucella เป็นเชื้อที่มีความจำเพาะในสัตว์แต่ละชนิด โดย Brucella abortus จะเป็นเชื้อที่เป็นในโคโดยเฉพาะ แต่สัตว์ชนิดอื่นก็อาจติดเชื้อได้ เช่น แพะ แกะ สุกร สุนัข อูฐ กระบือ สัตว์ป่า (กวาง สุนัขจิ้งจอก หนู)

อาการและพยาธิวิทยา

พยาธิวิทยา

เชื้อ Brucella แบ่งตัวอย่างรวดเร็วในระยะการตั้งท้องช่วงที่ 2 และช่วงสุดท้าย อาจพบอาการแท้งที่ระยะตั้งท้อง 5-8 เดือน มีการขับเชื้อปริมาณมากขณะคลอดและแท้งลูก เชื้อจะลดปริมาณลงเมื่อน้ำคร่ำและรกหมดไป ในการตั้งท้องครั้งต่อไปอาจไม่มีอาการแท้งอีกแต่จะสามารถนำเชื้อไปติดโคตัวอื่นได้ในช่วงคลอด เชื้อในมดลูกมีปริมาณสูงสุดในการตั้งท้องแรกและจะลดน้อยลงในการตั้งท้องครั้งต่อไป แต่กลับไปพบเชื้อได้จากนมน้ำเหลือง


ความต้านทานโรคและภูมิคุ้มกัน

ระยะฟักตัว

ระยะเวลาตั้งแต่ 53-251 วัน มีความแตกต่างขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ระยะตั้งท้อง ปริมาณเชื้อที่ได้รับ อายุ วัคซีน และความต้านทานของโฮสต์

วิธีติดเชื้อ

ตารางที่ 1 ความทนทานของ B abortus ของ ที่มา : Nicoletti., 1980


แหล่ง อุณหภูมิ/สภาพแวดล้อม ระยะเวลามีชีวิต
  แสงแดด <31°C 4.5 ชั่วโมง
  น้ำ -4°C 114 วัน
  น้ำ อุณหภูมิห้อง 77 วัน
  แหล่งน้ำ, ทะเลสาบ 37°C pH 7.5 <1 วัน
  แหล่งน้ำ, ทะเลสาบ 8°C pH 6.5 >57 วัน
  ดิน ในห้องที่แห้ง <4 วัน
  ดิน ในห้องเปียก 66 วัน
  ดิน ความชื้น 90% 48-73 วัน
  มูลสัตว์ ฤดูร้อน 1 วัน
  มูลสัตว์ ฤดูหนาว 53 วัน
  มูลสัตว์ 158-170°F <4 เดือน
  มูลสัตว์, เหลว ฤดูร้อน 108 วัน
  มูลสัตว์, เหลว ฤดูหนาว 174 วัน
  น้ำทิ้ง แทงค์ 7 สัปดาห์
  น้ำทิ้ง แทงค์ 12°C 7 สัปดาห์
  น้ำทิ้ง แทงค์ 12°C+100 ppm xylene <1 เดือน
  น้ำลายแกะ 20-24 ชม. (strain 19)
  น้ำในช่องท้องแกะ 10-30 นาที
  ขนแกะ โรงเก็บ 110 วัน

การวินิจฉัยโรค

ใช้การตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อค้นหาสัตว์ติดเชื้อซึ่งสามารถขับเชื้อติดต่อตัวอื่น สัตว์ติดเชื้อส่วนมากสามารถตรวจได้โดยการตรวจทางซีรั่มวิทยาแต่การติดเชื้อแฝง (latent infection) จะทำให้การตรวจทางซีรั่มให้ผลลบ นอกจากนั้นสัตว์ที่ฉีดวัคซีนแล้วอาจให้ผลตรวจเป็นบวกทั้งที่ไม่ติดเชื้อ ทำให้ยุ่งยากต่อการบริหารจัดการเพื่อการควบคุมและกำจัดโรค
การตรวจทางห้องปฏิบัติการประกอบด้วยการเพาะแยกเชื้อและการทดสอบแอนติบอดีต่อ Br. abortus ในเลือด น้ำนม น้ำเมือกช่องคลอด น้ำเมือกอวัยวะสืบพันธุ์เพศผู้
การตรวจทางซีรั่มวิทยา มีหลายวิธีแต่ไม่มีวิธีไหนที่ถูกต้องโดยสมบูรณ์ ทุกวิธีมีความไวที่แตกต่างกัน และมีความเหมาะสมในการใช้ตามสถานการณ์ที่แตกต่างกัน จึงมีคำแนะนำในการใช้การทดสอบหลายวิธีร่วมกันเป็นช่วงระยะเวลาเพื่อลดความผิดพลาดในการตัดสินในระดับฝูง

การรักษา

ไม่ใช้การรักษาสำหรับโรคนี้


หนังสืออ้างอิง

Nicoletti, P. 1980. The epidemiology of bovine brucellosis. In Advances in Veterinary Science and Comparative Medicine. Vol.24. p.70-95.