การปราบโรคจะต้องมีเป้าหมายที่ต้องการอย่างชัดเจน ได้แก่
การควบคุมโรค (control) เป็นการลดปัญหาของโรคลงสู่ในระดับที่ยอมรับได้ จำกัดปัญหาให้อยู่ในเฉพาะพื้นที่ที่กำหนด การป้องกัน (prevention) จะยับยั้งการนำโรคลงสู่พื้นที่ ทั้งนี้พื้นที่ที่กำหนดนั้นเป็นได้ตั้งแต่ ระดับคอก ฟาร์ม ตำบล เขตพื้นที่ ประเทศ ภูมิภาค ยุทธวิธีที่ใช้จึงต้องสอดคล้องกับเป้าหมาย
การควบคุมโรคที่ประสบความสำเร็จจะต้องตามมาด้วยระบบการป้องกันและการเฝ้าระวัง การกำจัดโรคจะไม่มีความหมายหากไม่มีการป้องกันการนำโรคเข้ามาอีก
(Bannister and Begg, 1990; Schnurrenberger, 1983)
การปราบโรคหรือการควบคุมโรคมีความคล้ายคลึงกับการรบ ต้องการระเบียบแบบแผนที่ชัดเจนในแต่ละขั้นตอน (Geering et al., 1999) การรบต้องมีการตัดสินใจที่รวดเร็วและถูกต้องบนพื้นฐานของข้อมูล ข่าวสารรอบด้าน มีการแปรการตัดสินใจ ไปสู่คำสั่งการมอบจุดประสงค์และภารกิจที่ชัดเจน ถ่ายทอดเป็นลำดับชั้นไปสู่ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ มีกลไกที่มีประสิทธิภาพในการถ่ายทอดข้อมูลและคำแนะนำจากศูนย์อำนวยการไปสู่แนวหน้า พร้อมทั้งการสะท้อนกลับมายังศูนย์อำนวยการ ในการควบคุมโรคต้องมีจุดประสงค์และผลลัพธ์ในการควบคุมโรคจะต้องเป็นไปตามนโยบายที่กำหนด
เพื่อเป้าหมายร่วมกันในการควบคุมโรคทั้งเขตพื้นที่
โค ไวต่อการติดโรค FMD มากที่สุด เนื่องจากปริมาณไวรัสขั้นต่ำในการก่อโรค (minimal infective dose) ในช่องทางการหายใจมีระดับต่ำมาก จึงมีโอกาสสูงมากที่โคที่สัมผัสใกล้ชิดกันจะป่วย การหยุดจำนวนตัวป่วยจึงอาจเป็นไปได้ยากกว่าสำหรับสัตว์ในฝูงเดียวกัน หรืออยู่ใกล้ชิดกันมาก่อนเริ่มการควบคุมโรค แต่การป้องกันการสัมผัสเชื้อสำหรับโคที่เลี้ยงอยู่ห่างกัน การลดปริมาณเชื้อให้ต่ำอยู่เสมอ จะมีส่วนช่วยในการบรรเทาการระบาด และลดโอกาสแพร่กระจาย
สุกร มีความไวต่อไวรัส FMD น้อยกว่าโค การทำให้สุกรป่วยต้องได้รับเชื้อในปริมาณสูงกว่าโคถึง 1,000 เท่า แต่สุกรป่วยจะขับไวรัสได้มากกว่าโคถึง 30 เท่า เมื่อเกิดอุบัติการ FMD ในโรงเรือน สุกร การสัมผัสโดยตรงถูกจำกัดเนื่องจากโดยทั่วไปแล้วสุกรไม่ได้ถูกเลี้ยงปล่อยอิสระในโรงเรือน การกินจึงเป็นช่องทางสำคัญในการติดโรคภายในโรงเรือนสุกร การแยกสัตว์ป่วยออกนอกโรงเรือนจากสุกรส่วนใหญ่ที่เป็นปกติจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่ง นอกจากนั้นแล้วการล้างฆ่าเชื้อโรค การระมัดระวังการปนเปื้อนสู่ช่องทางการกินผ่านทางรางน้ำ รางอาหาร จะมีส่วนช่วยในการลดจำนวนตัวป่วยลง
ความเชื่อที่ไม่ถูกต้องในการควบคุมโรค
ความเชื่อของผู้ปฏิบัติที่อาจส่งผลสะท้อนกลับที่ไม่พึงประสงค์ต่อการระบาด
ความเชื่อ | แนวคิด |
| FMD เป็นโรคที่ติดต่อง่าย แต่อัตราป่วยอาจมีค่าสูงหรือต่ำขึ้นกับปัจจัยสามเส้า เชื้อโรคโฮสต์สิ่งแวดล้อม สัตว์ป่วยอาจมีจำนวนมากจากการไม่ป้องกันการสัมผัสโรค เช่น ไม่กักสัตว์ป่วย ไม่แยกกันสัตว์ปกติออก ไม่หยุดการใช้ทำเลเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน ไม่ป้องกันการนำโรคโดยบุคคล ยานพาหนะ การเปิดโอกาสให้โรคแพร่กระจาย |
| เมื่อโรคสงบลงหากมีสัตว์ที่ไม่ป่วยเป็นโรคเหลืออยู่
ในจุดเกิดโรค สัตว์เหล่านี้จะไม่กลับมาป่วยเป็นโรคในภายหลัง เนื่องจากสามารถหลบเลี่ยง หรือผ่านระยะระบาดที่มีความเข้มข้นเชื้อสูงสุดไปแล้ว การทำให้สัตว์ป่วยเพิ่มขึ้นหรือป่วยทั้งหมด ทำให้ปริมาณไวรัสถูกขับสู่สิ่งแวดล้อมมากขึ้น และเสี่ยงต่อการแพร่ต่อไปในบริเวณใกล้เคียง แม้โรคสงบลงสัตว์ที่หายป่วยจะอยู่ในสถานะเป็น carrier เป็นระยะเวลานาน เป็นการเพิ่มแหล่งโรคที่จะกระจายต่อไป หากมีการเคลื่อนย้ายสัตว์เหล่านี้ออกไปก็จะทำให้เกิดอุบัติการใหม่ขึ้นได้ สัตว์ที่แฝงโรคจึงไมใช่สัตว์ปกติที่ไวต่อโรค (susceptibles) ที่เหลืออยู่ และสัตว์แฝงโรคที่แท้จริงคือสัตว์ที่อยู่ในสถานะ carrier หลังจากการป่วยเป็นโรค ซึ่งจะเก็บเชื้อไว้ในร่างกาย และสามารถขับเชื้อออกได้ ทำให้สัตว์ในแหล่งอื่นป่วยต่อไป |
| การจัดการสัตว์ป่วยจำนวนมากพร้อมกัน จะทำให้ความพิถีพิถันในการจัดการควบคุมโรคลดลง มีโอกาสทำให้ปนเปื้อนมากขึ้น สิ้นค่าใช้จ่ายในการรักษาสัตว์ป่วยมากขึ้น โรคสงบเกิดได้โดย 1) สัตว์หลีกเลี่ยงจากเชื้อไวรัสได้ และไม่เป็นโรค เมื่อเชื้อหมดโอกาสเพิ่มจำนวนโรคจะสงบ และ 2) สัตว์เป็นโรคหมดทุกตัว โรคจะสงบเช่นกัน แต่ผลกระทบจะต่างกัน เพราะมีความแตกต่างของประชากรสัตว์จากผล ของการระบาด ระหว่าง 1) เมื่อไม่มีสัตว์ป่วย ในขณะที่ยังมีสัตว์ที่ไวต่อโรคหลงเหลืออยู่ในบริเวณปนเปื้อนโดยไม่ป่วยเป็น โรค และ 2) เมื่อไม่มีสัตว์ป่วย เพราะสัตว์ทุกตัวป่วยจนหมด ในกรณีแรก จะมีสภาพมีสัตว์ที่เป็นตัวทดสอบโรค (sentinel) โดยหากไม่พบสัตว์ป่วยในระยะเฝ้าระวัง แสดงว่าสภาพ การขับเชื้อในจุดเกิดโรคมีปริมาณลดต่ำลงกว่าระดับขั้นต่ำที่จะก่อโรคได้อีก ส่วนในกรณีหลัง เป็นการเพิ่มโอกาสนำโรคต่อไป เนื่องจากสัตว์เป็น carrier เพิ่มขึ้นหรือเป็นจนหมด และในความเป็นจริงแล้วมีน้อยครั้งมากที่จุดอุบัติการจะมี ลักษณะโดดเดี่ยวแยกขาดจากสิ่งแวดล้อม ไม่มีประชากรสัตว์อยู่รอบข้าง การเพิ่มจำนวนตัวป่วยมักจะทำให้การระบาด แพร่กระจายต่อไปในบริเวณข้างเคียง โรคสงบเร็วเป็นผลดีเฉพาะหน้า แต่มีผลกระทบซ่อนอยู่มากมาย หากพิจารณาตามแนวคิดภูเขาน้ำแข็งของโรคติดเชื้อแล้ว สำหรับ FMD การที่สัตว์ป่วยหายจากอาการป่วยและเป็น carrier ก็เป็นการทำให้ภูเขาน้ำแข็งส่วนที่อยู่ใต้น้ำมากขึ้น ไม่ได้ทำให้ภูเขาน้ำแข็งมีขนาดเล็กลง และ FMD ไม่ได้ เป็นโรคเฉพาะจังหวัดใดจังหวัดหนึ่ง แต่เป็นปัญหาในระดับเขตหรือภาค การควบคุมโรคจึงต้องคำนึงถึงผลกระทบต่อกันด้วย การควบคุมโรคที่ถูกต้อง สามารถทำให้โรคสงบอย่าง รวดเร็วได้เช่นเดียวกัน |
| สัตว์ที่อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนจะป่วยหรือไม่ ขึ้นกับปริมาณเชื้อขั้นต่ำในการก่อโรคที่ได้รับในขณะนั้น รวมถึงความต่อเนื่องในการสัมผัสเชื้อ ซึ่งในสภาพธรรมชาติไวรัส
FMD จะเสื่อมสลายตลอดเวลา หากไม่มีตัวป่วยใหม่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง สัตว์จะมีโอกาสรอดจากโรคได้แม้ไม่มีภูมิคุ้มกัน เมื่อให้วัคซีน FMD ซึ่งเป็นวัคซีนเชื้อตาย จะมีผลทำให้สัตว์อ่อนแอลงชั่วขณะ เมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนอยู่แล้ว จะทำให้สัตว์ทนต่อปริมาณไวรัสในระดับเดิมไม่ได้ และจะแสดงอากการป่วยในทันที จึงมักจะพบว่าการฉีดวัคซีน ในจุดศูนย์กลางของโรค จากการไม่คำนึงถึงสภาพเหล่านี้ทำให้สัตว์แทบทั้งหมดแสดงอาการป่วย ซึ่งรุนแรงยิ่งกว่าการระบาดตามธรรมชาติ ความจริงแล้วมีวัคซีนไวรัสเชื้อเป็นบางชนิด ทำให้เกิดความ ต้านทานโรคในระยะเวลารวดเร็ว เนื่องจากตัวเชื้อไวรัสในวัคซีนกระตุ้นให้เกิดการสร้าง interferon ยับยั้งการเพิ่มจำนวนไวรัสได้ ดังเช่นในโรคกาฬโรคเป็ด (duck plague) สามารถให้วัคซีนเชื้อเป็นในฝูงสัตว์ป่วยได้ และในโรคอหิวาต์สุกร (swine fever) สามารถให้วัคซีนเชื้อเป็นในลูกสุกรที่ไม่ได้เกิดจากแม่ที่ได้รับวัคซีนมาก่อน ได้ตั้งแต่อายุ 1 วัน |
ตำราบางเล่มอ้างว่า
| ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้นโดย 1) ฉีดวัคซีน และ 2) หลังป่วยเป็นโรค การฉีดวัคซีน เป็นการตัดทางลัดสู่การมีภูมิคุ้มโรค โดยไม่ต้องผ่านการป่วยเป็นโรค ความคุ้มโรคที่เป็นประโยชน์จึงควรหมายถึงความคุ้มโรคที่ร่างกายสร้างขึ้นก่อนที่สัตว์จะป่วยเป็นโรค ไม่ใช่ความคุ้มโรคที่เกิดจากการเป็นโรค ซึ่งจะมีผลป้องกันการติดเชื้อในการติดโรคครั้งต่อไป วิธีการเพิ่มสัตว์ป่วยด้วยความจงใจที่ผู้ปฏิบัตินิยมใช้ ได้แก่ การฉีดวัคซีน FMD ให้สัตว์ปกติทุกตัวในจุดเกิดโรค การนำน้ำลายหรือเยื่อเมือกจากสัตว์ป่วยไปป้ายช่องปากให้สัตว์ปกติ เป็นต้น แท้ที่จริงแล้วการเพิ่มจำนวนสัตว์ป่วยด้วยความจงใจเป็นการซ้ำเติมระบบ เพิ่มโอกาสให้สถานการณ์ระบาดเลวลง ทั้งที่มีโอกาสอยู่มากที่จะป้องกันไม่ให้มีตัวป่วยเพิ่มขึ้น หรือทำให้โรคสงบลงด้วย จำนวนสัตว์ป่วยแต่เพียงส่วนน้อย |
T I PS |
เอกภาพของการสั่งการ (unity of command)
ความเรียบง่าย (simplicity)
การบริหาร (administration)
การประหยัด (economy of force)
ความปลอดภัย (security)
การรักษาขวัญและกำลังใจ (maintenance of morale)
|