ความต้านทานและปฎิกริยาทางภูมิคุ้มกัน
โคจะไวต่อโรคมากที่สุด รองลงไปคือสุกร ส่วน แพะ, แกะจะแสดงอาการน้อย หรือแทบไม่แสดงอาการ และโดยทั่วไปสัตว์อายุน้อยจะไวต่อโรคกว่าสัตว์โต
ภูมิคุ้มกันโรคแต่กำเนิดและที่ได้รับ
(innate and passive immunity)
ลูกสัตว์จะได้รับแอนติบอดีจากนมน้ำเหลืองของแม่ แต่ภูมิคุ้มกันนี้ไม่สูงเพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อ เนื่องจากลูกสัตว์มีความไวต่อการติดเชื้อสูง ในขณะเดียวกันภูมิคุ้มกันที่มีอยู่บ้างนี้จะมีผลต้านต่อการฉีดวัคซีนในการกระตุ้นให้สร้างภูมิคุ้มกันโรค
ซึ่งในลูกสุกรพบว่าระบบภูมิคุ้มกันโรค จะเริ่มพัฒนาเมื่ออายุ 2 สัปดาห์ขึ้นไป และยังมีผลลัพธ์จากภูมิคุ้มกันที่ได้รับทางนมน้ำเหลืองจากแม่
โดยกว่าที่ระดับภูมิคุ้มกันที่ได้รับจากแม่โค และสุกรจะลดลงเหลือครึ่งหนึ่งนั้นใช้ระยะเวลา 2122 วัน (Kitching and Salt, 1995) ดังนั้น
การให้วัคซีนในลูกสัตว์จึงไม่ได้ผล วิธีที่เหมาะสมในการป้องกันโรคในลูกสัตว์ คือ แยกตัวลูกออกจากแหล่งที่มีการติดเชื้อ
ภูมิคุ้มกันที่ร่างกายสร้างขึ้น (active immunity)
เป็นภูมิคุ้มโรคที่เกิดขึ้นภายหลังการติดเชื้อและการฉีดวัคซีน สัตว์สามารถติดเชื้อไวรัสได้หลายซีโรไทป์ การสร้างภูมิคุ้มต่อ FMD เป็นการสร้าง neutralizing แอนติบอดีแบบจำเพาะต่อ structural protein ของไวรัส การติดเชื้อไวรัสต่างซีโรไทป์มักไม่ค่อยมีภูมิคุ้มข้าม
ภูมิคุ้มกันโรคหลังจากป่วย
- โค จะสามารถตรวจพบแอนติบอดีหลังจากติดเชื้อได้ 4 วัน แอนติบอดีในระยะแรกคือกลุ่ม IgM ซึ่งจะมีระดับขึ้นสูงสุดที่ 714 วัน และลดลง
จนตรวจไม่พบที่ 30 วัน IgM จะหักล้าง (neutralize) และ ตกตะกอน (precipitate)ไวรัส หลังจากนั้น แอนติบอดีที่สูงตามมาคือกลุ่ม IgG เริ่มสูงขึ้นที่ 10-14 วัน และสูงสุดที่ประมาณ 28 วัน แอนติบอดีชุดนี้จะเข้าหักล้าง ตกตะกอน และจับเข้ากับ complement มีความจำเพาะกับชนิดของไวรัสมากกว่า โคที่ฟื้นจากโรคจะมีภูมิคุ้มกันอย่างเต็มที่ต่อไวรัสชนิดเดียวกัน 34 เดือน หลังจากนั้นเมื่อระยะเวลานานขึ้นจะพบภูมิคุ้มกันแต่เพียงบางส่วน
ซึ่งเมื่อเกิดการติดเชื้อซ้ำอาจพบแต่เพียงวิการเฉพาะที่ ููมิคุ้มกันอาจคงอยู่ยาวนานถึง 4.5 ปี การลดลงของภูมิคุ้มกันขึ้นกับ อายุ สภาพโภชนาการ สภาพทางสรีระ
และพันธุ์ (Mann and Sellers, 1990)
- สุกร แอนติบอดีระยะแรกจะเป็นกลุ่ม IgM เช่นเดียวกัน ต่อมาระหว่าง 1425 วัน กลุ่ม IgG จะมีเพิ่มขึ้นในกระแสโลหิต และมีความจำเพาะ
ต่อซีโรไทป์มากกว่า ระดับแอนติบอดีกลุ่ม IgG จะสูงสุดที่ประมาณ 28 วัน และตกลงในช่วง 57 เดือน ซึ่งจะทำให้สุกรทั้งหมดไวต่อโรคอีกครั้งหนึ่ง
ปรากฏการณ์ที่สุกรฟื้นจากโรคไม่เป็น carrier บ่งชี้ว่ากลไกของร่างกายในสุกร สามารถกำจัดไวรัสได้อย่างสมบูรณ์ (Mann and Sellers, 1989)
- แพะ พบแอนติบอดีในซีรั่ม ตั้งแต่วันที่ 6 หลังจากเชื้อเข้าสู่ร่างกาย ระดับแอนติบอดีถึงจุดสูงสุด ที่ระยะ 1416 วัน และยืนยาวไปไม่น้อยกว่า
120140 วัน ระดับแอนติบอดี (serum neutralizing reciprocal log titers) ใน แพะ, แกะ ที่ 1.92.8 เป็นระดับที่ถือว่ามีสภาพติดเชื้อ (Smith and Sherman, 1994)
- แกะ มีระยะเวลาตั้งแต่ติดเชื้อจนถึงพบไวรัสทั่วร่างกายเพียง 37 วัน และเป็นช่วงสั้น เริ่มแสดงอาการป่วยโดยเฉลี่ยที่ 7 วันหลังรับเชื้อ
จะตรวจจับแอนติบอดี ได้ในซีรั่มในระยะเวลาอันรวดเร็วหลังจากพ้นระยะพบไวรัสทั่วร่างกาย โดยที่การแพร่กระจายของไวรัส FMD ในแพะ, แกะ ค่อนข้างช้า
เมื่อเปรียบเทียบกับการตรวจพบแอนติบอดีที่รวดเร็วกว่า และระดับแอนติบอดีจะคงอยู่เป็นเวลานาน การตรวจแอนติบอดีจึงช่วยในการค้นหาโรค (Hughes et al., 2002)
ภูมิคุ้มกันโรคจากการฉีดวัคซีน
- โค , สุกร จะเหมือนกันกับภูมิคุ้มกันหลังเป็นโรคแต่ช่วงเวลาจะสั้นกว่า อยู่ในราว 3-6 เดือน ขึ้นกับชนิดของสื่อ (adjuvant) ที่ใช้ในวัคซีน ปัจจุบันวัคซีนกรมปศุสัตว์ เป็นวัคซีนเชื้อตาย ชนิด สำหรับ สุกรจะใช้สื่อแบบอีมัลชั่นชนิดน้ำมันในน้ำ (oil emulsion vaccines) ชนิดสำหรับ โค, กระบือ จะใช้สื่อแบบน้ำ (aqueous vaccines) โดยรับรองความ คุ้มโรคนาน 6 เดือน ทั้งสองชนิด ระดับแอนติบอดี (mean antibody reciprocal log titers) ายหลัง การฉีดวัคซีนไตรวาเลนท์ของกรมปศุสัตว์ เพียงครั้งเดียว ที่ระยะ 3 สัปดาห์หลังฉีด แล้ว ตรวจสอบ ด้วยวิธี liquid phase blocking enzymelinked immunosorbent assay (LPELISA) มีระดับภูมิ คุ้มกันโรค เหนือกว่า เกณฑ์ความคุ้ม โรคในโค (1:100) และสุกร (1:52) ดังนี้
ในโค มีภูมิคุ้มต่อไทป์โอ เท่ากับ 1.9 ± 0.6 (1:96) ต่อไทป์เอเท่ากับ 2.3 ± 0.4 (1:214) และ ต่อไทป์เอเซียวัน เท่ากับ 2.0 ± 0.5 (1:100)
ในสุกร มีภูมิคุ้มต่อไทป์โอ เท่ากับ 1.9 ± 0.5 (1:84) ต่อไทป์เอเท่ากับ 1.9 ± 0.4 (1:90) และ ต่อไทป์เอเซียวัน เท่ากับ 1.8± 0.5 (1:72)
(วิไลและคณะ, 2544)
- แพะ, แกะ โดยที่ตามธรรมชาติแล้ว แพะแกะเป็นสัตว์ที่ป่วยแบบแทบไม่แสดงอาการ จึงไม่สามารถหาเกณฑ์ระดับภูมิคุ้มกันโรคของวัคซีน
ได้จากการวัดขนาดวิการที่เกิดขึ้น ดังเช่น ในโค และสุกร (สมเกียรติและลักษณา, 2542) แต่หากเปรียบเทียบระดับแอนติบอดีแล้ว จะพบว่าแพะแกะจะ
ตอบสนองต่อวัคซีนโดยให้ค่าเฉลี่ยระดับแอนติบอดี (mean antibody titer) ที่ต่ำกว่าในโคกระบือ การฉีดวัคซีนสองครั้งตามด้วยการฉีดซ้ำทุก 6 เดือน
จะให้ผลตอบสนองดีที่สุด (Smith and Sherman, 1994) การฉีดสองครั้งจะมีระดับแอนติบอดีสูงกว่าการฉีดครั้งเดียว
การฉีดด้วยขนาดต่างกันที่ 1 , 1.5 และ 2 ซีซี. จะมีระดับแอนติบอดีที่ได้ไม่แตกต่างกัน (สมเกียรติและลักษณา, 2542)
- เมื่อเปรียบเทียบกันพบว่า โดยทั่วไปแล้วภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีน จะให้ระยะคุ้มกันโรคที่สั้นกว่าภูมิคุ้มกันจากการป่วยเป็นโรค
นอกจากนั้นแล้วภูมิคุ้มกันจากการฉีดวัคซีนจะมีระดับแอนติบอดี และความจำเพาะต่อซีโรไทป์ต่ำกว่าภูมิคุ้มกันโรคจากการป่วยเป็นโรค (Salt, 1993)
ระยะฟักตัว
ระยะฟักตัว (incubation period) ขึ้นกับชนิดของ ไวรัส FMD ปริมาณและวิธีที่ได้รับเชื้อ โดย
- โค, กระบือ มีระยะฟักตัว 35 วัน
- สุกร มีระยะฟักตัว 49 วัน
ในการตามรอยโรค (tracing purpose) ถือระยะฟักตัว 7 วัน คือ เมื่อเกิดอุบัติการโรคจะทำการสอบสวนหาสาเหตุของโรคหรือพฤติการณ์ที่สงสัยว่าจะเป็นการนำโรค ย้อนหลังไปเป็นเวลา 7 วัน และ
ในการควบคุมโรค (regulatory purpose) ถือระยะฟักตัว 14 วัน คือ เมื่อเกิดอุบัติการโรคจะเฝ้าสังเกตจนกระทั่งไม่พบสัตว์ป่วยใหม่เป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน จึงจะถือว่าการคาดหมายตำแหน่งปนเปื้อนถูกต้อง
วิธีการติดโรค
FMD มีการกระจายโดยธรรมชาติได้ 3 วิธี ได้แก่
1. โดยตรง จากสัตว์ที่ติดเชื้อไปยังสัตว์ปกติชนิดเดียวหรือต่างชนิด และ อาจเป็นการสัมผัสโดยตรง
2. ทางอ้อม จากผู้คนที่ใกล้ชิดสัตว์ป่วย หรือผลิตภัณฑ์ที่มาจากสัตว์ป่วย
3. ทางอ้อม จากสิ่งที่มีเชื้อโรคอยู่ เช่น อุจจาระ มูลฝอย ปัสสาวะ น้ำลาย ผู้คน ยานพาหนะ อุปกรณ์ สัตว์พาหะ เช่น สุนัข, นก, หนู ที่ปนเปื้อน
- การติดโรคมีโอกาสเกิดทันทีเมื่อสัตว์เข้าใกล้ชิดกัน เช่น การดื่มน้ำ การกินอาหาร การกระจาย ของโรคไปยังพื้นที่อื่น
เกิดโดยการเคลื่อนย้ายสัตว์พาหะ ยานพาหนะ ที่ปนเปื้อน ผู้คน
- ไวรัสกระจายได้อย่างรวดเร็วโดยยานพาหนะและเครื่องมือที่ปนเปื้อน มนุษย์สามารถกระจายโรค ไปสู่สัตว์ได้โดยปนเปื้อน มือ เสื้อผ้า รองเท้า มนุษย์สามารถเก็บไวรัสไว้ในช่องจมูกและลำคอได้ถึง 36 ชม. โดยไม่แสดงอาการใด ๆ ไวรัสจะถูกขับออกโดยการ ไอ จาม พูดคุย หายใจ และน้ำลาย ทำให้สามารถถ่ายไวรัสสู่คนและสัตว์ได้
- สุนัข, แมว, หนู, เป็ด, ไก่ และนก สามารถพาเชื้อไวรัสไปได้
- ของเหลวจากบริเวณปนเปื้อนซึ่งไหลนองบนถนน เส้นทางที่สัตว์ผ่าน แปลงหญ้า สามารถทำให้เกิด การปนเปื้อนต่อสัตว์ ยานพาหนะ และผู้คนที่สัมผัส
- เชื้อไวรัสไม่มีการแบ่งตัวเพิ่มจำนวนในแมลงพาหะ แต่แมลงมีโอกาสนำโรคได้โดยการพาไป
- การกระจายไปตามกระแสลม จะเกิดขึ้นได้ต่อเมื่ออยู่ในสภาพภูมิอากาศเฉพาะพื้นที่
- การกระจายไปตามกระแสน้ำ ยังไม่เคยมีรายงาน
สื่อของไวรัสในอากาศ
- เชื้อไวรัสที่แพร่กระจายทางอากาศไม่ได้ไปโดยลำพัง แต่อาศัยการรวมตัวกับอนุภาค (particles) หรือละอองของเหลว (droplets) ที่ฟุ้งกระจาย
ซึ่งเรียกรวมกันว่า bioaerosols มีขนาดแตกต่างกันตั้งแต่ 0.5-30 µm อากาศจะทำให้ bioaerosols กระจายจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่ง
การแพร่กระจายของไวรัสจึงเป็นผลของการรวมตัวของไวรัส และ bioaerosols ซึ่งเป็นเสมือนยานของตัวไวรัส โดยไวรัสจะต้องมีความเสถียรเพียงพอในอากาศ
และ bioaerosol ต้องมีการถ่ายเทไปในอากาศได้
- แหล่งกำเนิดของ bioaerosols ในสิ่งแวดล้อม ได้แก่ พื้นผิวน้ำ, ดิน, พืช bioaerosols จากผิวน้ำถูกสร้างขึ้นโดยการเคลื่อนไหวของผิวน้ำ คลื่น
ซึ่งประกอบด้วยชั้นบาง ๆ ของความชื้นล้อมรอบเชื้อจุลชีพไว้ ส่วน bioaerosols จากผิวดินถูกสร้างขึ้นโดย เชื้อจุลชีพจะหลุดออกจากพื้นดิน
รวมเข้ากับอนุภาคจากผิวดิน กิจกรรมหลายอย่างเป็นการสร้าง bioaerosols ให้เกิดขึ้น เช่น การล้างคอกสัตว์โดยใช้น้ำฉีด การพ่นสารเคมีเป็นละออง
การใช้เครื่องพ่นสารละลายแบบมีแรงดันสูง การบำบัดน้ำเสีย รวมถึงกิจกรรมทาง การเกษตรหลายชนิด ซึ่งจะเพิ่มความเป็นไปได้ในการกระจายเชื้อจุลชีพออกไป
แม้ว่าไวรัสจะไม่เพิ่มจำนวนนอกเซลแต่ก็สามารถเคลื่อนย้ายทางอากาศ (Stetzenbach, 1997)
- bioaerosols ที่เกิดขึ้นตามธรรมชาติขึ้นสู่อากาศได้เมื่อโอกาสอำนวย โดยอาศัย ลม ฝน ฯลฯ อนุภาคขนาด 15 µm
จะปลิวตามแนวกระแสของอากาศ ส่วนอนุภาคที่ใหญ่กว่านั้นมักจะมีโมเมนตัมที่จะเบี่ยงตัวออกจากแนวกระแส ตกลงเนื่องจากแรงโน้มถ่วง
กระทบกับพื้นผิวและเกาะติดอยู่ (deposit) แรงกระทบจะเพิ่มขึ้นเมื่อมวลของอนุภาคมากขึ้น ถัดจากนั้น bioaerosols จะหลุดออกจากพื้นผิวที่เกาะติดอยู่
โดยอาศัยแรงหักล้างจากการผสมกันของความปั่นป่วนของกระแสลม (Mohr, 1997)
- ในบรรดาปัจจัยทางภูมิอากาศ ความชื้นสัมพัทธ์เป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดต่อความเสถียรของ bioaerosols และส่งผลต่อจุลชีพให้มีความทนทานต่อสภาพแวดล้อมได้ดี
- เมื่อละอองถูกขับออกโดยการไอ จาม ละอองขนาดใหญ่จะตกลงสู่พื้นภายในชั่วนาที ละอองที่เล็กระดับขนาดไมครอนจะมีการระเหย และขนาดลดลง
ใกล้เคียงกับจุลชีพ ทำให้แขวนลอยในอากาศได้เป็นชั่วโมง แล้วจะกระจายไปตามกระแสอากาศ (Kowalski and Bahnfleth, 1998)
- จุลชีพในสิ่งแวดล้อมจะเผชิญกับสภาพที่จะทำให้เสื่อมลงอยู่ตลอดเวลา ตัวแปรที่มีผลต่อความอยู่รอดของไวรัส ได้แก่ ความชื้นสัมพัทธ์ อุณหภูมิ
การแผ่รังสี และปัจจัยทางภูมิอากาศอื่น ๆ การที่ไวรัสทนต่อออกซิเจน มีโครงสร้างอย่างง่าย และไม่มีปฏิกริยาในสภาพแวดล้อมเหมือนแบคทีเรีย
ทำให้ไวรัสเสื่อมสภาพยากกว่าแบคทีเรีย ลักษณะการเสื่อมสภาพของไวรัสเป็นดังนี้
ไวรัสที่มีองค์ประกอบเป็นไขมันที่เปลือกนอก จะมีความทนทานกว่าในสภาพที่ความชื้นสัมพัทธ์ต่ำ
ไวรัสไม่มีองค์ประกอบเป็นไขมันที่เปลือกนอก ดังเช่นไวรัส FMD จะมีความทนทานกว่า ในสภาพที่ความชื้นสัมพัทธ์สูง และ
ไวรัสที่อยู่ในอากาศ จะหมดฤทธิ์ได้จากการที่ผนังโปรตีน เสื่อมสภาพ ไม่ได้เป็นผลจากการกระทำต่อกรดนิวคลีอิคที่อยู่ภายใน
- การติดต่อโดยทางอากาศ (airborne) หมายถึงการติดเชื้อโดยสูดลมหายใจเข้าไป และร่างกายสัตว์รับเอา droplet nuclei ของไวรัส
ซึ่งเป็นอนุภาคที่มีขนาดเล็กกว่า 5 µm ไว้ได้ (Sattar and Ijaz, 1997) โดยนัยนี้จึงถือว่าไวรัส FMD เป็น airborne ได้ ในสัตว์ที่เลี้ยงดู
ใกล้ชิดกันจึงยากต่อการควบคุมป้องกัน สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมในเขตหนาวสามารถทำให้เชื้อแพร่กระจายได้ในระยะทางไกล ส่วนใหญ่แล้วอนุภาค
ที่ไปตามลมจะมีขนาด 6 µm หรือมากกว่า ตามปกติแล้วจะตกลงสู่พื้น แต่อาจกระจายไปได้เมื่อจับตัวเป็นกลุ่ม (plumes) หากมีกระแสลม
ที่เหมาะสมและความชื้นสัมพัทธ์มากกว่า 60 % ไวรัสจะมีชีวิตรอดหลายชั่วโมง ในยุโรป สภาพอากาศเช่นนี้มักเป็น เวลากลางคืนซึ่งอากาศสงบ ทำให้
ไวรัสกระจายในผืนแผ่นดินใหญ่ ได้ไกลถึง 10 กม. เมื่อประกอบกับภูมิประเทศที่เป็นห้วยและเนินเขา จะทำให้ไวรัส กระจายได้ไกลยิ่งขึ้น (Mann and Sellers, 1989)
แต่ในเขตร้อน การแพร่กระจายไปทางลมมีโอกาสน้อยที่จะเกิดขึ้น เนื่องจากผลของอุณหภูมิ โดยในสภาพที่มีแสงแดด และอุณหภูมิสูงเชื้อไวรัส
ในอากาศจะถูกทำลายไปอย่างรวดเร็ว
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบคุณสมบัติของฝุ่น (dust) ละออง (droplets) และละอองนิวคลีไอ (droplet nuclei) ในการถ่ายทอดโรค ที่มา : Schawbe et al., 1977
คุณสมบัติ
| ละออง
| ฝุ่น
| ละอองนิวคลีไอ |
  ขนาด
| > 100 µm
| 10-100µm
| 2-10µm
|
  เกิดขึ้นโดย
| ของเหลวแยกตัว
| การเสียดสี
| ละอองน้ำระเหย
|
  วิธีแขวนลอย
| พุ่งไปโดยการไอ จาม
| อากาศพยุง
| ลอยไปโดยการระเหย
|
  ความเร็วร่อนลง
| > 30 ซม./นาที
| 30 ซม./นาที-วินาที
| < 30 ซม./นาที
|
  เวลาที่แขวนลอย
| < 3 วินาที
| ขึ้นกับความเร็วที่ตก
| ในที่โปร่งจะแขวนลอยได้นาน
|
  ระยะที่ไปได้
| ไม่ไกลในพื้นที่ว่าง
| ลอยในเมฆฝน
| กระจายทั่วบรรยากาศ
|
  ชนิดของจุลชีพ
| ปรสิตและจุลชีพก่อโรค
| จุลชีพทั่วไป
| ปรสิตและจุลชีพก่อโรค
|
  จำนวนต่อ ลบ.ฟุต
| ปานกลาง
| โดยปกติ< 100
| โดยปกติ< 1
|
  เข้าระบบหายใจ
| ไม่แน่ชัด
| ติดที่จมูกและคอหอย
| เข้าถึงปอด
|
  วิธีติดโรค
| สัมผัส
| ยานพาหนะ
| สัมผัส
|
  ความคงทน
| ไม่แน่ชัด
| ทนทาน
| ไม่คงที่
|
  การกำจัด/ป้องกัน
| หน้ากากป้องกัน
| กรอง ตกตะกอนโดยไฟฟ้าสถิตย์
| ตกตะกอนโดยใช้ไฟฟ้าสถิตย์
|
  การควบคุม
| เว้นระยะห่าง
| ฆ่าเชื้อในอากาศ
| ระบายอากาศ หรือฆ่าเชื้อในอากาศ |
Previous
Next