1  

ส่วนป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9 กรมปศุสัตว์


ระบาดวิทยา

สามเส้าทางการระบาด (epidemiologic triad)

โรคเป็นผลของระบบที่สูญเสียสมดุลระหว่างปัจจัยสามเส้า ได้แก่ เชื้อโรค โฮสต์ และ สิ่งแวดล้อม ทั้งหมดอยู่ภายใต้อิทธิพลของการจัดการ ปัจจัยเหล่านี้มีความสำคัญอย่างยิ่งในการลดความรุนแรงของอุบัติการโรค


ภาพที่ 12 องค์ประกอบของสามเส้าทางการระบาด ที่มา: Gay, 2001


ความลดหลั่นของการติดเชื้อ (gradient of infection)

การตอบสนองของโฮสต์ต่อเชื้อจะมีสภาพลดหลั่นกันไป ทั้งด้านความรุนแรง และลักษณะการแสดงอาการ ความแตกต่างของการตอบสนองอาจเกิดขึ้นได้ตั้งแต่ในระดับเซล (Evans, 1989) ทำให้การตอบสนองมีตั้งแต่ไม่ติดเชื้อ (เช่น ในกรณีมีภูมิคุ้มกันโรค หรือ ปริมาณเชื้อต่ำกว่า infectious dose) ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ ไปจนกระทั่งแสดงอาการรุนแรงถึงตาย


ภาพที่ 13  ความลดหลั่นของการติดเชื้อ ที่มา : Evans, 1989


ตารางที่ 15  ปัจจัยทั่วไปที่ทำให้อาการโรคผันแปร ที่มา : Gay, 2001

ปัจจัยที่ทำให้ความรุนแรงน้อยลง ปัจจัยที่ทำให้ความรุนแรงมากขึ้น
  ปริมาณเชื้อน้อย   ปริมาณเชื้อมาก
  อายุโตเต็มวัย   อายุน้อย หรือ อายุมาก
  ความเครียดน้อย   ความเครียดมาก
  สภาพ Cu, Se, วิตามิน A, E เพียงพอ   สภาพ Cu, Se, วิตามิน A, E ไม่เพียงพอ
  ไม่มีโรคแฝง   มีโรค metabolic, การติดเชื้อโรคอื่นร่วม
  เป็นตัวที่เข้มแข็งในฝูง   เป็นตัวอ่อนแอในฝูง
  ให้ผลผลิตน้อย   ให้ผลผลิตมาก
  มีภูมิคุ้มกันเฉพาะโรคสูง   มีภูมิคุ้มกันเฉพาะโรคต่ำ


ภูเขาน้ำแข็งของโรคติดเชื้อ ("iceberg" theory of infection)

เมื่อเกิดอุบัติการโรคในฝูงสัตว์ ผลรวมการตอบสนองจากปัจจัยสามเส้ามักจะไม่แยกจากกันอย่างชัดเจน แต่จะเป็นปรากฏการณ์แบบต่อเนื่อง ทำให้ความรุนแรงของโรคลดหลั่นกันไป มีลักษณะเหมือนภูเขาน้ำแข็ง ส่วนที่แสดงอาการหรือเสมือนยอดที่โผล่พ้นน้ำจะมีจำนวนน้อย ส่วนที่ไม่แสดงอาการหรือเสมือนฐานที่อยู่ใต้น้ำจะมีจำนวนมาก พวกที่ติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการนี้อาจเปลี่ยนแปลงไปเป็นพวกที่แสดงอาการได้ขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ ดังเช่น ความเครียดจากสิ่งแวดล้อม (Pfeiffer, 1998) แม้ในโรคเดียวกันสัดส่วนสัตว์ที่รับผลกระทบและสัตว์ป่วยจะแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับผลรวมของการตอบสนองจาก ปัจจัยสามเส้าในแต่ละอุบัติการในการควบคุมโรคจึงต้องระมัดระวัง และตรวจสอบผลกระทบทั้งด้านบวกและลบของความสัมพันธ์ดังกล่าว


ภาพที่ 14 แนวคิด "ภูเขาน้ำแข็ง" ของโรคติดเชื้อที่ระดับเซลและระดับโฮสต์ ที่มา: Evans, 1989


ประชากรสัตว์ในการระบาด (population in epidemic model)

เมื่อเกิดการระบาดของ FMD ประชากรสัตว์จะมีความเปลี่ยนแปลงสถานภาพตามการตอบสนองต่อเชื้อ ดังนี้


ภาพที่ 15 ความเปลี่ยนแปลงในประชากรสัตว์เมื่อเกิดการระบาดของ FMD ที่มา: Pech and Hone, 1988


อัตราการติดโรคพื้นฐาน (basic reproductive rate of infection, R0)

R0 หมายถึง จำนวนสัตว์ปกติโดยเฉลี่ยที่ถูกทำให้ติดเชื้อจากตัวป่วยแต่ละตัว ค่านี้แสดงถึงความยากง่ายของการติดโรค เมื่อโรคเริ่มระบาด สัตว์ป่วยแต่ละตัวจะสามารถแพร่เชื้อทำให้สัตว์ปกติติดโรคตามมา ถ้าทำให้เกิดติดโรคได้มากกว่า 1 ตัว อุบัติการจะเพิ่มขึ้นแบบทวีคูณ แต่ถ้าโดยเฉลี่ยทำให้ เกิดติดโรคได้น้อยกว่า 1 ตัว อุบัติการจะลดลง และถ้าโดยเฉลี่ยเกิดติดโรคได้เท่ากับ 1 ตัว อุบัติการจะเกิดขึ้นต่อเนื่อง ในอัตราคงที่ในระยะยาว

ถ้า R0 มีค่า > หรือ= 1 จะทำให้โรคคงอยู่ในกลุ่มประชากรนั้น แต่
ถ้า R0 มีค่า < 1 แสดงว่าโรคจะถูกกำจัดจากกลุ่ม

ดังนั้น เป้าหมายของยุทธวิธีการควบคุมและป้องกันโรคติดต่อ คือต้องทำให้ R0 <1 หรือลดลงเป็น 0 ซึ่งเกี่ยวข้องกับการกำจัดปัจจัยเสี่ยงที่เกิดจากความสัมพันธ์สามเส้า เชื้อโรค–โฮสต์–สิ่งแวดล้อม ได้แก่


กรอบเวลาของการระบาด

ลักษณะของการระบาดที่เกิดขึ้นในช่วงเวลา สามารถแสดงได้โดยเขียนกราฟแสดงจำนวนอุบัติการใหม่ (incidence) ที่เกิดขึ้นในแต่ละวันของช่วงที่มีการระบาดของโรค เรียกว่าเส้นโค้งการระบาด (epidemic curve) จะทำให้ทราบลักษณะการระบาดของโรค สามารถใช้วิเคราะห์และพยากรณ์สถานการณ์ของโรค


ภาพที่ 16  ตัวอย่างเส้นโค้งการระบาด



ภาพที่ 17 เส้นโค้งการระบาดในลักษณะการระบาดจากแหล่งโรคหลัก ที่มา: Gay, 2001



ภาพที่ 18  เส้นโค้งการระบาดในลักษณะการระบาดแบบแพร่กระจาย


1) การแพร่กระจายของเชื้อโรคลดลง
2) ปริมาณเชื้อลดลง
3) ความต้านทานของพวกที่ยังไม่เป็นโรคเพิ่มขึ้น และ
4) จำนวนตัวปกติที่ไวต่อโรคน้อยลงหรือหมดลง โรคจึงจะสงบ (Gay, 2001)


ภาพที่ 19  วงจรของการเกิดโรคระบาด ที่มา : Gay, 2001


ตัวชี้วัดในการควบคุมโรค

ขนาดของการระบาด (size of epidemic)

จะต้องมีวัดผลเชิงปริมาณ เพื่อสามารถเปรียบเทียบขนาดของการระบาด และทำนายสถานการณ์ที่จะเกิดขึ้นตามมา โดยใช้อัตราป่วย (morbidity rate) วัดการกระจายโรคในประชากรซึ่งเป็นผลที่เกิดขึ้นหลังจากมีการควบคุมโรค (Schwabe et al., 1977 ; Martin et al., 1987)