- โค, กระบือ เป็นตัวเริ่มโรค เนื่องจากเป็นสัตว์ที่ไวต่อโรคอย่างมากต่อการติดเชื้อทางระบบหายใจ
นอกเหนือจากปริมาณเชื้อขั้นต่ำในการก่อโรคที่น้อยที่สุดแล้ว (12 log10IU) สาเหตุของความไวต่อโรคอาจเนื่องจากสภาพทางสรีระของสัตว์
เนื่องจากโคจะมีปริมาตรลมหายใจต่อวันมากที่สุด (86167 ลบ.ม./วัน) เมื่อเปรียบเทียบกับสัตว์ชนิดอื่น (แกะ 710 ลบ.ม./วัน, สุกร 420 ลบ.ม./ วัน) (Sellers, 1971)
ภาพที่ 11 เปรียบเทียบปริมาณไวรัสในการทำให้เกิดโรค และปริมาตรลมหายใจในโค แกะ และสุกร ที่มา : AVIS, 2002
- สุกรเป็นตัวขยายโรค สุกรมักจะติดเชื้อโดยการกิน เป็นตัวผลิตเชื้อที่มีประสิทธิภาพทางระบบหายใจ สุกรสามารถขับไวรัสได้ 2.8± 108 IU ต่อวัน
ในขณะที่ โค, กระบือ และแกะ ขับไวรัสอย่างมากที่สุด 1.8± 105 IU ต่อวัน นั่นคือสุกรแต่ละตัวขับไวรัสออกมาในอากาศได้มากกว่า
โค, กระบือ ถึง 30 เท่า (Sellers, 1971)
- แพะ, แกะที่ติดเชื้อมักไม่แสดงอาการ จึงอาจมีความสำคัญในการเก็บและกระจายโรค
- การนำโรคเข้ามาสู่สัตว์ที่ไวต่อโรค โดยมากมีสาเหตุจากการเคลื่อนย้ายนำสัตว์ป่วย หรือสัตว์ที่เป็นพาหะเข้ามา
- ความหนาแน่นของปศุสัตว์ เพิ่มอัตราการสัมผัสโรคระหว่างสัตว์ป่วยและสัตว์ปกติ เมื่อเกิดอุบัติการโรคในแหล่งที่มีการเลี้ยงสัตว์หนาแน่นจึงมีโอกาสเกิดการระบาดได้ เนื่องจากจะพบสัตว์ป่วยเป็นโรคอย่างต่อเนื่อง เมื่อสัตว์ป่วยมีจำนวนมากขึ้นก็เป็นการเพิ่ม carrier ที่มีโอกาสนำโรคไปสู่พื้นที่อื่นต่อไป
- โอกาสที่เชื้อไวรัส FMD จะกระจายไปทางลม ต้องอยู่ภายใต้สภาพภูมิอากาศเฉพาะและสภาพทางการระบาดเฉพาะ โคไวต่อการติดโรคทางอากาศมากที่สุด รองลงมาคือแกะ ส่วนสุกรจะทนทานต่อการติดโรคทางอากาศ (Donaldson and Alexendersen, 2002)
- การติดโรคโดยธรรมชาติมี 2 ทาง คือการเข้าไปทางลมหายใจและการกิน โดยการหายใจจะใช้ปริมาณเชื้อที่น้อยกว่า การกระจายจากโคไปสู่โคด้วยกันน่าจะเป็นการเข้าไปทางลมหายใจ
ในสุกรช่องทางเริ่มต้นน่าจะเป็นทางลมหายใจซึ่งเป็นช่องทางที่ไวที่สุด แต่จะกระจายไปสู่สุกรตัวอื่นในโรงเรือนเดียวกันโดยการกิน การติดโรคข้ามจากสุกรไปยังโคน่าจะเป็นการปนเปื้อนโดยบุคคล ของเสียจากโรงเรือน (Blood and Radostits, 1989)
- รูปแบบที่ใช้ในการเลี้ยงสัตว์มีผลให้เกิดการกระจายโรคที่แตกต่างกัน เช่น การเลี้ยงในโรงเรือน มักจะมี bioaerosols ซึ่งเป็นสื่อของไวรัสในปริมาณสูงกว่าการเลี้ยงในที่เปิดโล่ง ทำให้มักพบอัตราป่วยที่สูง แต่การเลี้ยงในที่เปิดโล่งจะยากต่อการสังเกตสิ่งผิดปกติที่เกิดขึ้น เป็นต้น
- การเกิดอุบัติการในแต่ละครั้ง อาจไม่ใช่จุดปฐมภูมิ แต่เป็นการระบาดลุกลามจากพื้นที่ข้างเคียง
ตารางที่ 14 ปัจจัยสาเหตุที่เกี่ยวข้องกับการระบาดของ FMD ในเขต 9 ที่มา : วันทนีย์, 2541
ปัจจัยสาเหตุ | การระบาด (ครั้ง/%) | |
1. | ติดโรคจากพื้นที่ข้างเคียง | 10 (43.5 %) |
2 | การเคลื่อนย้ายสัตว์2 | 7 (30.4 %) |
สัตว์ลักลอบ (1) | ||
โคชน (1) | ||
เคลื่อนย้ายทั่วไป (5) | ||
3. | แหล่งฆ่าสัตว์ | 2 (8.7 %) |
4. | ไม่ทราบสาเหตุ | 4 (17.4 %) |
1 หมายถึงการติดโรคจากการระบาดลุกลามจากพื้นที่ต่อเนื่องกัน
2 หมายถึงการติดโรคจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ข้ามพื้นที่เป็นระยะทางไกล
- ไวรัส FMD ในปริมาณมากถูกขับออกจากสัตว์ที่ติดเชื้อก่อนอาการป่วยจะปรากฏ ดังนั้นสัตว์ที่ติดเชื้ออาจถูกเคลื่อนย้าย, ขาย, ฆ่า ก่อนที่จะพบอาการของโรค
- ไวรัส FMD สามารถกระจายไปทางอากาศได้ แต่ในประเทศเขตร้อนการติดโรคโดยทางอากาศนั้นไม่มีความสำคัญ (วิไล, 2545)
อะไรคือสถานะ carrier
- สถานะ carrier (carrier state) คือสภาพการติดเชื้อที่ยืนนานโดยสัตว์ไม่แสดงอาการผิดปกติ สามารถตรวจวินิจฉัยได้โดยการแยกไวรัส FMD ได้จาก หลอดอาหารและคอหอยได้เป็นครั้งคราว สัตว์ที่อยู่ในสถานะเป็น carrier หมายถึงสัตว์ที่สามารถแยกเชื้อไวรัสออกมาได้ที่ระยะตั้งแต่ 28 วัน หลังจากติดเชื้อ (Woodbury, 1995)
- เมื่อสัตว์รับเชื้อ FMD ในระยะแรกซึ่งเป็นระยะเฉียบพลันของโรค หากร่างกายไม่สามารถขจัดไวรัสได้หมด ก็จะทำให้เกิดสภาพที่เชื้อคงอยู่ในร่างกายได้เป็นเวลานาน
- โดยปกติแล้วสัตว์ที่อยู่ในสถานะ carrier จะมีระดับ neutralizing แอนติบอดีสูงกว่าสัตว์ที่ไม่อยู่ในสถานะ carrier และมีโอกาสน้อยมากที่จะแยกไวรัสได้จากสัตว์ที่มี neutralizing แอนติบอดีในระดับต่ำ ดังนั้นค่าเฉลี่ยระดับ neutralizing แอนติบอดี จึงอาจเป็นวิธีที่ใช้บ่งถึงสภาพ carrier ในฝูงได้ (Salt, 1993)
ใครคือ carrier
โค , กระบือ, แพะ, แกะ ที่หายป่วยแล้ว (post-infection carrier)
- โค, กระบือ ระยะเวลานานถึง 2.5 ปี
โดย 50 % ของโคป่วยจะเป็น carrier ได้นานถึง 9 เดือน และส่วนน้อยนานมากกว่า 2 ปี - แพะ, แกะ ยาวนานมากกว่า 9 เดือน
โดย 50% ของแพะและแกะที่ป่วยจะเป็น carrier ถึง 9 สัปดาห์ และบางส่วนถึง 911 เดือน (Mann and Sellers, 1990)
- สุกร จะมีไวรัสอยู่ในตัวได้ไม่เกิน 1 เดือน จึงถือว่าไม่มีสภาพ carrier หลังป่วยเป็นโรค (Mann and Sellers, 1990; Woodbury, 1995)
สัตว์ที่ฉีดวัคซีนแล้วเกิดป่วยเป็นโรค
- หลังฉีดวัคซีน หากรับไวรัส FMD ในปริมาณมากอย่างท่วมท้น หรือได้รับไวรัสในระยะเวลาใกล้เคียงกับการทำวัคซีนก็จะทำให้ป่วยเป็นโรคได้
เมื่อหายป่วยจะสามารถเก็บไวรัสไว้ในตัว กลายเป็น carrier เช่นเดียวกับสัตว์ที่ไม่ได้รับวัคซีนแล้วป่วยเป็นโรค
กรณีนี้จึงไม่เกี่ยวข้องกับผลของวัคซีน แต่เป็นกรณีการใช้วัคซีนไม่ได้ผล (vaccine failure)
- หลังฉีดวัคซีน หากมีการสร้างภูมิคุ้มกันขึ้นแล้วและรับไวรัสในภายหลัง มีผู้ทดลองให้โคที่ฉีดวัคซีนสัมผัสไวรัส แล้วให้โคที่ไวต่อโรคมาสัมผัสกับโค
ที่ฉีดวัคซีนอีกต่อหนึ่ง พบว่าส่วนใหญ่แล้วโคที่ฉีดวัคซีนจะทนโรคได้ดีโดยไม่แสดงอาการป่วย มีส่วนน้อยที่แทบไม่แสดงอาการ และโคที่ฉีดวัคซีนทุกตัว
จะไม่ขับไวรัสให้กับโคไวต่อโรคที่สัมผัสด้วย มีเพียงบางตัวเท่านั้นที่อาจมีระยะเวลาสร้างภูมิคุ้มโรคน้อยเกินไป ทำให้โคไวต่อโรคที่สัมผัสด้วยป่วยเป็นโรค
จึงเป็นที่มาของแนวคิดที่ว่าสัตว์ที่ได้รับวัคซีนแล้วสามารถรับและขับไวรัสได้ (transmission of FMD by vaccinated cattle) (Donaldson and Kitching, 1989)
แต่หากคำนึงถึงนิยามของ carrier ที่หมายถึงการเก็บไวรัสไว้ในร่างกายได้ เป็นเวลานาน โดยจะต้องแยกเชื้อออกมาได้ พบว่ายังไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันสภาพ carrier ของสัตว์ที่ได้รับวัคซีน (vaccinated carrier) เป็นแต่เพียงสมมติฐานเท่านั้น (Watkins, 2001; Geering et al., 1999)
carrier สามารถทำให้เกิดอุบัติการโรคได้จริงหรือ
- รายงานการระบาดบ่งชี้ว่า โคกระบือที่เคยป่วยเป็นโรคเป็นตัวนำไวรัสไปสู่สัตว์ที่ไวต่อโรค (Hughes et al., 2002) แต่ยังไม่สามารถพิสูจน์ด้วยการทดลองได้ว่า เกิดจาก carrier มีเพียงสามารถแยกเชื้อไวรัสจากตัวสัตว์เคยป่วยได้เท่านั้น (Mann and Sellers, 1990)
- วิธีการตรวจยืนยันสถานะ carrier เป็นการตรวจของเหลวจากหลอดอาหารคอหอย (oesophagealpharyngeal fluid) ยังให้ผลที่ไม่แน่นอน แม้เป็นการตรวจในวันเดียวกัน (Hughes et al., 2002) จึงยากที่จะพิสูจน์สาเหตุของอุบัติการโรคจากสัตว์ที่เป็น carrier
- โดยทั่วไปแล้ว ปริมาณไวรัสในตัวสัตว์จะลดลงตามระยะเวลาและไม่เพียงพอในการก่อโรค จึงมีข้อสันนิษฐานว่าในสภาพพื้นที่อาจมีปัจจัยที่เป็นชนวน (trigger factors) ซึ่งยังไม่แน่ชัด ทำให้เกิดการขับเชื้อในปริมาณที่มากขึ้นจนเกิดการติดโรคขึ้นได้จาก carrier
- สัตว์ที่ถูกเคลื่อนย้ายจะอยู่ในสภาพเครียด (shipping stress) และอาจล้มป่วย แม้ไม่สามารถพิสูจน์ยืนยันความเปลี่ยนแปลงทางภูมิคุ้มกันซึ่งจะทำให้สัตว์เพิ่มความไว ต่อการติดเชื้อ FMD แต่การที่มักพบอุบัติการโรคจากการเคลื่อนย้ายสัตว์อยู่เสมอ จึงอาจมีความเกี่ยวข้องของการเคลื่อนย้ายสัตว์ในระยะทางไกล ซึ่งมีความเครียดของ พฤติกรรมรวมฝูง (social stress) เนื่องจากสัตว์จะถูกรวมฝูงกับสัตว์จากต่างแหล่งกัน ทำให้เกิดการถ่ายทอดเชื้อได้อย่างรวดเร็ว (AVIS, 2002)