พิจารณา FMD เมื่อพบวิการตุ่มใสในช่องปาก เท้า หัวนม ในสัตว์กีบคู่ และอาการ น้ำลายไหลพร้อมกันหลายตัว ตามด้วยอาการขากะเผลกแบบฉับพลัน มีไข้ ในโคนมมีสภาพน้ำนมลด
โค, กระบือ อาการแรกสุดคือซึม น้ำลายไหล กินอาหารน้อย อุณหภูมิร่างกายสูงถึง 4041°C ขากะเผลก สัตว์ป่วยไม่เข้าฝูง ไม่อยากยืน พบวิการตุ่มใสในช่องปาก ลิ้น แก้ม เหงือก ริมฝีปาก เพดานปาก ในระยะแรกวิการตุ่มใสมีน้ำอยู่และโตเร็ว จนอาจมีขนาดถึง 3 ซม. วิการตุ่มใสขยายตัวมารวมกันเป็นแผ่นพอง (blisters) อาจถึงครึ่งของขนาดลิ้น แผ่นพองจะแตกและหลุดได้ง่ายภายใน 24 ชม. เหลือพื้นผิวของเยื่อบุลิ้นชั้นล่าง น้ำลายจะไหลมากขึ้น วิการจะสมาน อย่าง รวดเร็วในเวลาไม่กี่วัน
สำหรับวิการตุ่มใสตามแนวไรกีบเท้า ในระยะแรกจะพบเพียงเยื่อบุผิวเป็นสีขาว ไม่พบแผ่นพอง เว้นแต่เยื่อบุผิวหลุดลอกออก สิ่งสกปรกอาจทำให้ไม่สามารถสังเกตวิการที่เท้าได้ แต่อาจสังเกตอาการ เจ็บเท้า เดินกะเผลกหรือสลัดเท้า เมื่อวิการสมาน กีบเท้าอาจแยกตัวออกตรงแนวไรกีบ หลังจากติดเชื้อ 26 สัปดาห์ กีบเท้าอาจหลุดออกจากเนื้อเยื่อชั้นล่าง รอยแตกที่กีบทำให้สัตว์หายช้า ขากะเผลก เรื้อรัง และน้ำหนักลด
วิการตุ่มใสอาจเกิดที่หัวนมและเต้านม น้ำนมลด เต้านมอักเสบ และแท้งลูก อัตราตายในสัตว์โตต่ำมาก แต่หากเกิดในลูกสัตว์จะพบอัตราตายได้สูงถึง 50 % เนื่องจากพยาธิสภาพที่หัวใจ การติดเชื้อแทรกซ้อน และกินอาหารไม่ได้
โดยทั่วไปแล้ว โคที่เป็นโรคจะแสดงอาการป่วย แต่ในฝูงโคที่ฉีดวัคซีน และพันธุ์พื้นเมืองบางพันธุ์ในประเทศที่มี FMD เกิดอยู่เสมอ (endemic) อาจมีอาการแสดงน้อย โรคจึงสามารถกระจายไปได้โดยสังเกตไม่พบ (Kitching, 2002)
อาการที่เกษตรกรจะสังเกตได้ในระยะแรกของโรค คืออาการน้ำลายไหล ยืนซึม ในระยะ 24-48 ชม.
ตุ่มใสหรือแผ่นพองที่ลิ้นที่เพิ่งจะแตกออก อยู่ในระยะ 2-3 วัน
รอยแผลไม่มีเศษเยื่อบุผิว อยู่ในระยะ 2-3 วัน
บริเวณเหงือก ช่องปาก อาจมีรอยแผล ถือเป็นตำแหน่งรองลงไปจากที่ลิ้น
รอยแผลที่ลิ้น ช่องปาก มีเนื้อตายคล้ายเนย อยู่ในระยะ 4-5 วัน
วิการที่กีบเท้า มักจะพบเกิดขึ้นหลังจากวิการที่ช่องปาก
ลูกโค ที่ป่วยเป็นโรคมักจะตายโดยไม่แสดงอาการป่วย
สุกร ในระยะแรกอาจสังเกตอาการได้ยาก อาการหลักคือ ไข้สูงถึง 40.5°C ขากะเผลก ผิวหนังที่บริเวณจมูก ริมฝีปาก ลิ้น ในช่องปาก และแนวไรกีบมีสีขาวขุ่น
อาจพบวิการตุ่มใสที่ เต้านม วิการตุ่มใสจะแตกออกภายใน 24 ชม. หากไม่มีการติดเชื้อแทรกซ้อน วิการจะสมานอย่างรวดเร็ว สุกรมักจะนอนลงตลอดเวลา เจ็บปวดมากเวลาเดิน
ส่งเสียงร้อง กีบหลุดได้ง่าย หลังจากนั้นหลายวันจึงมีกีบงอกใหม่ แต่กีบอาจบิดเบี้ยว วิการที่กีบอาจกินเวลาหลายสัปดาห์กว่าจะกลับสู่สภาพปกติ
วิการที่ปลายจมูกจะสังเกตได้ยาก เนื่องจากจะแตกออกอย่างรวดเร็วเมื่อเริ่มแสดงอาการ พบการแท้งได้ ลูกสุกรมีอัตราตายสูง
วิการตุ่มน้ำใสที่ดั้งจมูก น้ำในวิการตุ่มใสเป็นตัวอย่างที่เหมาะสมในการส่งตรวจซีโรไทป์ทางห้องปฏิบัติการ
ลุกสุกรดูดนม เมื่อป่วยเป็นโรคจะมีอัตราการตายสูง
วิการตุ่มใสที่เต้านมแม่สุกร และสุกรที่มีอาการเจ็บเท้าจะเดิน ยืนด้วยข้อเข่า เพื่อหลีกเลี่ยงการถ่ายน้ำหนักลงบนกีบเท้า
การเดินด้วยข้อเข่าจะทำให้พบแผลถลอกตรงด้านหน้าของข้อเท้าหน้า และด้านหลังของข้อเท้าหลัง
แพะ มีอาการปรากฏน้อย หรือไม่แสดงอาการ ในแพะที่โตเต็มวัยอาจแสดงอาการป่วยทั่วไป เช่น อาการซึม ไม่กินอาหาร ตัวสั่น
มีไข้ น้ำนมลด แท้งลูก ในระยะเริ่มต้นจะมีวิการตุ่มใสที่ไรกีบ ระหว่างกีบเท้าและส้นเท้า หลายวันต่อมาวิการตุ่มใสจะแตกออก
ทำให้เกิดแผลหลุมที่เจ็บปวดมาก โดยอาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อน สัตว์ป่วยไม่อยากยืนหรือเคลื่อนตัว ในรายที่รุนแรงกีบเท้าจะหลุดออก สัตว์ป่วยอาจตายได้
เนื่องจากกินอาหารไม่ได้ และการติดเชื้อแทรกซ้อนทางระบบหายใจ ส่วนวิการในช่องปากอาจ ทำให้มีอาการเลียริมฝีปากและน้ำลายไหล เกิดหย่อมวิการสีแดงที่ช่องปาก
แท่นฟัน ลิ้น เพดานปาก วิการที่หัวนมก็อาจพบได้เช่นกัน ลูกแพะมักจะแสดงอาการที่ชัดเจนกว่า โดยมีวิการที่กีบเท้ามากกว่าจะเป็นที่ช่องปาก
สังเกตได้จากอาการขากะเผลก (Smith and Sherman, 1994)
แกะ จะแสดงอาการป่วยเล็กน้อยเท่านั้น และเป็นเพียงช่วงสั้นในระยะ 2 วัน ส่วนใหญ่แล้วจะพบวิการที่เท้า
ทำให้พบอาการที่เกี่ยวเนื่อง ได้แก่ ขากะเผลก ส่วนอาการทั่วไป ได้แก่ มีน้ำมูก ไข้ วิการตุ่มใสในช่องปากยากที่จะตรวจพบ โดยทั่วไปแล้วเป็นเพียงวิการพื้นผิว
และมักไม่มีวิการตุ่มน้ำใสเหลืออยู่ เนื่องจากตุ่มน้ำใสจะแตกออกไปในระยะต้น วิการจะมีลักษณะเป็นแผลหลุมตื้นที่แท่นฟัน ลิ้นและเหงือก อาการอื่นที่อาจพบ
ได้แก่ น้ำนมแห้งในแม่แกะ และการตายของ ลูกแกะอายุน้อย (Hughes et al., 2002)
วิการรอยแผลที่ระหว่างกีบเท้า และรอยโรคที่แท่นฟัน (dental pad)
การพิจารณาอายุวิการ
โค ใช้ลักษณะวิการประมาณระยะเวลาป่วย (Mann and Sellers, 1990)
สุกร ใช้หลักการเช่นเดียวกัน ในกรณีที่ระยะเวลายาวนานกว่านั้น ให้ใช้วิธีการตรวจกีบเท้าสุกรทั้ง 8 อัน โดยการวัดระยะจากไรกีบถึงวิการ ในสุกรหย่านมจะมีการงอกของกีบเท้า 2 มม.ต่อสัปดาห์ และ 1 มม.ต่อสัปดาห์ในสุกรโต
ตารางที่ 1 การตรวจโรค FMD ทางห้องปฏิบัติการ
สิ่งที่ตรวจสอบ | วิธีทดสอบ | ตัวอย่างที่ใช้ | ห้องปฏิบัติการ | ระยะเวลาตรวจ |
แอนติเจน และ การแยกซีโรไทป์ | ELISA | น้ำในวิการตุ่มใส หรือ เยื่อบุลิ้น | ศูนย์อ้างอิงโรคปากและเท้าเปื่อย อ.ปากช่อง | 3-4 ชม. |
ไวรัส | virus isolation and identification | เยื่อบุลิ้น | ศูนย์อ้างอิงโรคปากและเท้าเปื่อย อ.ปากช่อง | 1-4 วัน |
VIA แอนติเจน | LP ELISA | ซีรั่ม 10 และ 30 วัน หลังป่วย | ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ อ.ทุ่งสง | 1-3 วัน |