แนวคิดในเรื่องการกักขัง แยก หรือย้ายสัตว์
การแยกสัตว์ป่วย (isolation of infected animals), การย้ายสัตว์ป่วย ( removal of infected animals) ออกจากตัวอื่นในฝูงด้วยการกักขัง (confine) เป็นการจัดการภายในฝูงเพื่อป้องกันสัตว์ส่วนใหญ่ในฝูงจากการสัมผัสเชื้อ สนับสนุนการกำจัดและลดปริมาณเชื้อ เพื่อรอระยะเวลาในการสร้างภูมิคุ้มกันสำหรับสัตว์ไวต่อโรคที่อยู่โดยรอบหรือภายนอกฝูง
- สัตว์ที่อยู่ในระยะฟักตัวสามารถขับไวรัสออกจากร่างกายได้แล้ว จึงจำเป็นต้องแยกสัตว์ที่อยู่ในระยะฟักตัวออกมาด้วยกัน ในทางปฏิบัติไม่อาจตรวจทางห้องปฏิบัติการเพื่อยืนยันสัตว์ที่อยู่ในระยะฟักตัวได้ จึงควรตั้งข้อสงสัยสัตว์ที่ เลี้ยงอยู่ด้วยกันอย่างใกล้ชิด และสัตว์ที่ใช้ทำเลเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน โดยทั่วไปแล้วอุบัติการวันแรกที่มีสัตว์ป่วยมากกว่า 4 ตัว จะต้องตั้งข้อสังเกตว่ายังมีสัตว์ที่อยู่ในระยะฟักตัวแฝงอยู่ในฝูง (Hutbert et al., 1998)
- การแยกสัตว์ป่วย และสัตว์ที่สงสัยว่าจะอยู่ในระยะฟักตัวจะช่วยป้องกันส่วนที่เหลือของฝูงจากเชื้อไวรัสในปริมาณสูงขณะอุบัติการเริ่มต้น
- การกีดกัน (segregation) หมายถึงการแบ่งแยกสัตว์หรือกีดกันสัตว์ออกเป็นกลุ่ม โดยอาศัยสิ่งขวางกั้น หรือการเว้นพื้นที่ว่าง ทำให้สัตว์มีสภาพอยู่ห่างจากกันทั้งเป็นรายตัวและรายกลุ่ม ในบางครั้งอาจไม่สามารถแยกสัตว์ป่วยออก ทำให้สัตว์ป่วยอยู่ในสภาพแวดล้อมเดียวกันกับสัตว์อื่น การกีดกันจะลดการสัมผัสใกล้ชิดในฝูงเดียวกัน หรือในพื้นที่ปิด เช่น ในโรงเรือน ฟาร์ม การขวางกั้นในลักษณะต่าง ๆ จะลดการติดโรคได้ดังนี้
- สิ่งขวางกั้นจะหน่วงการติดโรคระหว่างแต่ละซองให้ช้าลง
- พื้นที่ว่างหรือสภาพเว้นว่างในโรงเรือน จะหน่วงการติดโรคระหว่างแถว, กลุ่มของซอง หรือระหว่างแต่ละซองในแถวหรือกลุ่ม เว้นแต่หากเมื่อเชื้อมีปริมาณมากและเป็นขาขึ้นของการระบาด
- สัตว์ที่ฉีดวัคซีนและมีภูมิคุ้มกันแล้วจะมีสถานภาพเป็นตัวขวางการติดโรค
- การกักกัน (quarantine) เป็นการป้องกันการนำเชื้อโรคเข้าสู่ในพื้นที่ซึ่งปลอดจากโรค โดยกักตัวนำโรคไว้จนกระทั่งปลอดภัยแล้วจึงนำเข้าสู่พื้นที่ การกักกันจะประสบผลสำเร็จเมื่อสามารถทำได้อย่างสมบูรณ์ สภาพ carrier และการคมนาคมที่สะดวกสบายมักทำให้การกักกันโรคทั้งในมนุษย์และสัตว์ไม่ประสบผลสำเร็จ (Miles, 1990) การกักกันสัตว์มักทำโดยการกักขังสัตว์ไว้ในด่านกักกันสัตว์ในช่วงเวลาที่กำหนดเพื่อทำการตรวจสอบโรค โดยปกติแล้วจะใช้ระยะเวลากักอย่างน้อยเท่ากับระยะฟักตัวของโรค
- ในการทดลองด้านระบาดวิทยา พบว่า การเคลื่อนย้ายสัตว์มีผลกระทบต่อลักษณะอุบัติการโรคได้ เนื่องจากความไวต่อโรคที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น ความเครียดจากสภาพด้อยกว่าในทางพฤติกรรมของสัตว์ (socially inferior status) มีผลลดปฏิกริยาของฮอร์โมนต่อมหมวกไต ทำให้ภูมิคุ้มกันชนิดไม่จำเพาะเจาะจงลดลง พบว่าหากแยกตัวที่ไวต่อโรคออกบางส่วน โรคจะสงบลง (Miles, 1990) การกักขัง แยก หรือย้ายสัตว์ร่วมฝูงจึงเป็นวิธีการสำคัญที่ถูกระบุไว้มาโดยตลอดตาม พรบ.โรคระบาดสัตว์ พศ. 2499 และที่แก้ไขเพิ่มเติม พศ.2544 (กรมปศุสัตว์, 2544ก.)
ตารางที่ 19 วิธีการจัดสิ่งขวางกั้น และการจัดพื้นที่เว้นว่าง ที่มา: Hutbert and Kitching, 2000
| วิธีการ
| ผล
| วิธีติดโรคที่ได้รับผลกระทบ*
|
| จัดรั้ว หรือสิ่งขวางกั้นระหว่างสัตว์ปกติไวต่อโรค และแหล่งเชื้อโรค (สัตว์ป่วย)
| หยุดหรือลดการสัมผัสไวรัส ด้วยสิ่งขวางกั้น
| 1, 2
|
| ย้ายสัตว์ที่อยู่ในตำแหน่งเชื่อมต่อระหว่างกลุ่ม ทำให้เกิดลักษณะแบ่งแยกออกจากกัน หรือเป็นการกันสัตว์ปกติออกจากแหล่งเชื้อโรค
| หยุดหรือลดการสัมผัสไวรัส ด้วยพื้นที่เว้นว่าง
| 1, 2
|
| เพิ่มระยะทางระหว่างแต่ละซอง หรือแต่ละกลุ่มของซอง
| ลดการสัมผัสไวรัส ด้วยพื้นที่เว้นว่าง
| 1, 2
|
| ลดขนาดพื้นที่ซอง แต่เพิ่มจำนวนซองกัก
| 1. ลดโอกาสสัมผัสระหว่างซองจากการ
ที่พื้นที่เว้นว่างเพิ่มขึ้น (ในฟาร์ม หรือในพื้นที่จำกัด) 2. ลดอัตราการสัมผัสโรค
| 3
|
| ลดจำนวนสัตว์ในซอง
| 1. ลดจำนวนสัตว์ที่ไวต่อโรคในซอง
2. ลดอัตราสัมผัสโรค
3. ลดอัตราส่วนของสัตว์ไวต่อโรคต่อพื้นที่ว่าง
| 3
|
หมายเหตุ *
1. การติดโรคจากการสัมผัสใกล้ชิด (contact spread),
2. การติดโรคทางอากาศในระยะใกล้ (shortdistant airborne spread)
3. การติดโรคทางการกิน สัมผัสวิการ ร่วมฝูง ทางอากาศ
ตารางที่ 20 แนวทางทั่วไปในการแยกสัตว์ป่วย และกีดกันสัตว์ในอุบัติการ
สภาพการเลี้ยงทั่วไป
| แนวทางทั่วไป
|
โค
|
|
เลี้ยงปล่อยแทะเล็มในทำเลเลี้ยงสัตว์ร่วม เป็นฝูงย่อย
รายละไม่เกิน 30 ตัว หรือเลี้ยงแบบผูกล่าม รายละ
ไม่เกิน 1-5 ตัว ไล่ต้อนกลับคอก หรือไม่มีคอก
| 1. แยกสัตว์ป่วย สัตว์ที่อยู่ในระยะฟักตัวออกจากฝูง
2. ไม่มีสัตว์อยู่ในบริเวณปนเปื้อนโดยอิสระ
3. กันสัตว์ออกจากบริเวณปนเปื้อน หรือไม่ให้เข้าสู่บริเวณปนเปื้อน
|
สุกร
|
|
เลี้ยงและจัดการในโรงเรือน มีซองย่อยสำหรับสุกรขนาดใหญ่เป็นรายตัว และซองรวมสำหรับสุกรขนาดเล็ก
| 1. แยกสัตว์ป่วยออกจากโรงเรือน และแยกตัวที่แสดงอาการภายหลังเพิ่มเติมอย่างต่อเนื่อง
2. ล้างฆ่าเชื้อโรค
|
แพะ, แกะ
|
|
คล้ายคลึงกับโค แต่มีจำนวนเลี้ยงต่อรายน้อยกว่า และมีเลี้ยงในบางท้องที่เท่านั้น
| แยกสัตว์ทั้งฝูงออกจากทำเลเลี้ยงสัตว์ โดยขังไว้ในคอกตลอดเวลา
|