|
วัตถุประสงค์
ความหมาย
| การฉีดวัคซีนป้องกันโรค FMD หลังจากมีอุบัติการให้แก่สัตว์ปกติที่อยู่ในเขตควบคุมโรคชั้นใน
|
วัตถุประสงค์
| เพื่อให้สัตว์ปกติที่ไวต่อโรคมีภูมิต้านทานโรค เป็นการปิดล้อมอุบัติการโรคให้อยู่ใน วงรอบที่ฉีดวัคซีน ป้องกันสัตว์ปกติที่ไวต่อโรคนอกวงรอบที่ฉีดวัคซีน
|
ระยะเวลา
| การฉีดวัคซีน ควรเสร็จสิ้นใน 1 สัปดาห์
|
วิธีการปฏิบัติ
ขั้นเตรียมการ
| เตรียมความพร้อมสำหรับอุปกรณ์ ดังต่อไปนี้
- วัคซีน FMD โค, กระบือ หรือ สุกร
- ตู้เย็น หรืออุปกรณ์เก็บรักษาวัคซีนในอุณหภูมิ 46๐C
- อุปกรณ์ฉีดวัคซีน
|
วัคซีนที่ใช้
| วัคซีน FMD สำหรับโค กระบือ
เป็นวัคซีนเชื้อตายชนิดน้ำ (inactivated, aqueous vaccine) เตรียมเชื้อไวรัสจากเซลล์เพาะเลี้ยง ทำให้เข้มข้นบริสุทธิ์ และหมดฤทธิ์ด้วย binary ethylene imine (BEI) เป็นวัคซีนรวม 3 ไทป์ สเตรนท้องถิ่น ใช้ฉีดใน โค, กระบือ, แพะ, แกะ ตัวละ 2 ซีซี. เข้าชั้นใต้ผิวหนัง และ
วัคซีน FMD สำหรับสุกร เป็นวัคซีนเชื้อตายชนิดน้ำมันรวม 3 ไทป์ ใช้ฉีดในสุกรครั้งละ 2 ซีซี เข้ากล้ามเนื้อ ให้ความคุ้มโรคเป็นหลังฉีด 3-4 สัปดาห์ นาน 6 เดือน (กองผลิตชีวภัณฑ์, 2543)
วัคซีนได้รับการผลิตโดยเฉพาะให้ฉีดสัตว์แต่ละชนิด จึงไม่นำวัคซีนสำหรับ โค, กระบือ, แพะ, แกะ ไปฉีดสุกร และ ไม่นำวัคซีนสำหรับสุกร ไปฉีดโค, กระบือ, แพะ, แกะ
|
แผนการฉีดวัคซีน
| กำหนดพื้นที่ 3 บริเวณ ได้แก่
1) บริเวณปนเปื้อน
2) เขตควบคุมโรคชั้นใน และ 3) เขตควบคุมโรคชั้นนอก จัดทำแผนฉีดวัคซีนโดยใช้แบบ กคร.5
อุบัติการเฉพาะโค, กระบือ
- ฉีดวัคซีนให้แก่โค, กระบือ สุขภาพสมบูรณ์ทุกตัวในเขตควบคุมโรคชั้นใน ยกเว้นลูกสัตว์อายุน้อยกว่า 4 เดือน สัตว์ที่ไม่พร้อมในการฉีดครั้งแรกควรได้รับการฉีดเพิ่มเติม (เก็บตก) ในสัปดาห์เดียวกัน
- ไม่ฉีดวัคซีนให้แก่โค, กระบือในบริเวณปนเปื้อน และเขตควบคุมโรคชั้นนอก
- ไม่ฉีดวัคซีนให้แก่ลูกโค, กระบือ อายุน้อยกว่า 4 เดือน การป้องกันโรคในสัตว์อายน้อยต้องอาศัยการแยกสัตว์ออกจากแหล่งไวรัสเท่านั้น
- หากมีโรงเรือนสุกรอยู่บริเวณเดียวกันกับบริเวณปนเปื้อนอาจจะไม่ฉีดวัคซีนให้แก่สุกรก็ได้ โดยเน้นการล้างฆ่าเชื้อโรคป้องกันการนำโรคเข้าสู่ฟาร์ม
อุบัติการเฉพาะสุกร
- ไม่ฉีดวัคซีน FMD ให้สุกรในโรงเรือนที่พบสัตว์ป่วย ไม่ว่าจะมีประวัติการฉีดวัคซีนมาแล้วหรือไม่
- ฉีดวัคซีนให้สุกรอายุเกินกว่า 1012 สัปดาห์สำหรับโรงเรือนหรือฟาร์มซึ่งยังไม่พบสัตว์ป่วยในรัศมี 1 กม. โดยคำนึงถึงประวัติวัคซีนด้วย ดังนี้
- ได้รับวัคซีน FMD มาแล้วนานเกินกว่า 3 สัปดาห์ ให้ฉีดซ้ำได้
- ได้รับวัคซีน FMD มาแล้วนานไม่เกินกว่า 3 สัปดาห์ ไม่ต้องฉีดซ้ำ หรือฉีดซ้ำได้ตามเกณฑ์ปกติ ห่างจากการฉีดครั้งแรก 3 สัปดาห์
- ในโรงเรือนที่จะฉีดวัคซีน มีข้อพิจารณา ดังนี้
- ไม่ฉีดวัคซีนให้ลูกสุกรอายุน้อยกว่า 2 สัปดาห์ เนื่องจากระบบภูมิคุ้มกันยังไม่ตอบสนอง
- แม่สุกรตั้งท้อง ฉีดได้จนถึง 23 สัปดาห์ก่อนคลอด (จารุณี, 2545)
- ถ้าลูกสุกรมาจากแม่ที่ได้รับวัคซีน ให้ฉีดวัคซีนให้ลูกสุกรอายุเกินกว่า 1012 สัปดาห์
- ถ้าคาดว่าภูมิคุ้มกันจากแม่ที่ลูกสุกรจะได้รับจะลดลงรวดเร็ว และการควบคุมโรคในฟาร์มข้างเคียงไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ อาจให้วัคซีนลูกสุกรเร็วขึ้นได้ ที่อายุเกินกว่า 24 สัปดาห์ (Kitching and Salt, 1995)
- ในการระบาดของ FMD สุกร ถ้าไม่พบอุบัติการในโค กระบือร่วมด้วย ไม่ต้องฉีดวัคซีนฉุกเฉินให้โค กระบือ เนื่องจากมีระบบการผลิตและสภาพการเลี้ยงที่ไม่เกี่ยวข้องกัน
- ในการระบาดของ FMD สุกร เมื่อโรคสงบลง ในโรงเรือนที่พบสุกรป่วยให้ปรับเข้าสู่โปรแกรมวัคซีนป้องกันโรคล่วงหน้าตามปกติได้ โดยสามารถฉีดวัคซีน FMD ให้กับสุกรที่ไม่เคยแสดงอาการป่วยได้หลังจากที่สุกรป่วยตัวสุดท้ายหายป่วยไป
ไม่น้อยกว่า 1 เดือน ส่วนสุกรป่วยไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนซ้ำอย่างน้อย
6 เดือนหลังจากป่วยเป็นโรค
อุบัติการในโค, กระบือ พร้อมทั้งสุกร
อุบัติการเกิดในโค, กระบือ และสุกร ให้พิจารณาวางแผนการฉีดวัคซีนแยกออกจากกันไม่เกี่ยวข้องกัน ขึ้นกับตำแหน่งปนเปื้อนของสัตว์แต่ละชนิด
อุบัติการในโค, กระบือ พร้อมทั้งแพะ, แกะ
อุบัติการที่เกิดในโค, กระบือ, แพะ, แกะ ในเขตควบคุมโรคชั้นในไม่ต้องฉีดวัคซีนใน แพะ, แกะ แต่ให้ถือว่าบริเวณปนเปื้อนของแพะ, แกะ เป็นบริเวณ ปนเปื้อนของ โค, กระบือด้วย เนื่องจากโค, กระบือ เป็นตัวชี้สภาพการมีอยู่ของ FMD ที่ไวที่สุด
|
การฉีดวัคซีน
|
- ในการฉีดวัคซีนให้แก่โค กระบือ ให้เริ่มต้นจากด้านนอกเข้ามาหาด้านใน เว้นแต่กรณีมีปริมาณสัตว์หนาแน่นมาก ก็ให้กำหนดวงแหวนด้านในซ้อนขึ้นมาอีก และฉีดวัคซีนในกรอบนี้เสียก่อน เพราะหากเลือกฉีดวงกว้างก็อาจทำได้ไม่เสร็จ และมีจุดอ่อนในวงภูมิคุ้มกันได้
- ในการฉีดวัคซีนให้แก่สุกรแต่ละโรงเรือน สามารถทยอยฉีดวัคซีนให้แก่สุกรเป็นกลุ่มได้ ไม่จำเป็นต้องเสร็จสิ้นภายในวันเดียว เรียงตามลำดับสภาพความ สมบูรณ์ทางสรีรวิทยา ดังนี้ พ่อสุกร สุกรขุน สุกรสาว สุกรตั้งท้อง แม่สุกรเลี้ยงลูก และ ลูกสุกร
- ในโค กระบือ ให้ใช้สีน้ำมันทำเครื่องหมายบนตัวสัตว์ที่ได้รับการฉีดวัคซีนแล้ว
|
การติดตามผล
|
- บันทึกผลในแบบ กคร.4 สำหรับโค กระบือ แพะ แกะ ตามแต่ละจุดที่ได้ฉีดวัคซีน ในสุกร บันทึกผลในแบบ กคร.4 ตามแต่ละโรงเรือนสุกรและรายเกษตรกร
- สรุปผลในแบบ กคร.5 สำหรับโค กระบือ แพะ แกะ เป็นรายหมู่บ้าน ในสุกรให้สรุปเป็นรายเกษตรกร
- ปรับปรุงตำแหน่งปนเปื้อนเป็นรายสัปดาห์
โค, กระบือ, แพะ, แกะ
- ติดตามสัตว์ป่วยใหม่ว่าอยู่นอกตำแหน่งปนเปื้อนเดิมหรือไม่ ถ้าพบว่ากระจาย ออกนอกตำแหน่งปนเปื้อนเดิมให้ขยายเป็นตำแหน่งปนเปื้อนใหม่
- ในตำแหน่งปนเปื้อนที่ขยายออกนี้ ให้ติดตามสัตว์ป่วยใหม่ บันทึกจำนวนสัตว์ ป่วยใหม่ แยกประเภทเป็น
1) สัตว์ที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนแล้วป่วยเป็นโรค 2) สัตว์ที่ฉีดวัคซีนแล้วกลับป่วยเป็นโรค และ
3. รายงานตำแหน่งปนเปื้อนใหม่ในแบบ กคร.3
สุกร
ติดตามผลว่ามีการป่วยใหม่ในโรงเรือนอื่นหรือไม่ ถ้าพบให้ขยายตำแหน่ง ปนเปื้อนออก และรายงานตำแหน่งปนเปื้อนใหม่ในแบบ กคร.3
|
การฉีดวัคซีนกระตุ้น (booster)
| หลังฉีดวัคซีนครั้งแรก 34 สัปดาห์
- ถ้าตำแหน่งปนเปื้อนคงเดิม จะฉีดวัคซีนกระตุ้นหรือไม่ ให้ใช้ดุลยพินิจโดยคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ในการระบาดครั้งนั้น เช่น หากเป็นแหล่งที่มีการซื้อขายเป็นจุดลงสัตว์ที่เคลื่อนย้ายนำเข้า ซึ่งอาจทำให้มีการเปลี่ยนแปลงนำสัตว์ใหม่เข้ามาเลี้ยงอยู่เสมอ ก็ควรฉีดวัคซีนกระตุ้น หรือหากจำนวนสัตว์ป่วยไม่เพิ่มขึ้นหรือหยุดลง เป็นระยะเวลานานกว่า 34 สัปดาห์ ก็ไม่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนกระตุ้น
- ถ้าตำแหน่งปนเปื้อนขยายออก
- ให้ฉีดวัคซีนครั้งแรก สำหรับสัตว์ที่ยังไม่เคยได้รับวัคซีนในเขตควบคุมโรคชั้นในที่ปรับปรุงใหม่
- ให้ฉีดวัคซีนกระตุ้น สำหรับสัตว์ที่เคยได้รับวัคซีนครั้งแรกมาแล้วในเขตควบคุมโรคชั้นในที่ปรับปรุงใหม่ เพราะการที่เขตปนเปื้อนขยายออกแสดงว่าภูมิคุ้มกัน และผลของภูมิคุ้มกันฝูงไม่เพียงพอในการยับยั้งโรค
|
ตารางที่ 21 ข้อพิจารณาในการเลือกใช้ยุทธวิธีวัคซีนในการควบคุมโรค ที่มา: EUROPA, 1999
| สภาพ
| น่าจะเลือกการฉีดวัคซีน
| น่าจะเลือกการไม่ฉีดวัคซีน
|
| ลักษณะประชากรสัตว์ที่ไวต่อโรค
| ประชากรหนาแน่น
| ประชากรเบาบาง
|
| ชนิดสัตว์ป่วย
| มีสุกรจำนวนมาก
| ส่วนใหญ่เป็นสัตว์กระเพาะรวม
|
| การเคลื่อนย้ายสัตว์ติดเชื้อหรือสิ่งปนเปื้อน ออกนอกบริเวณปนเปื้อน
| มี
| ไม่มี
|
| การกระจายทางอากาศ
| มี
| ไม่มี
|
| วัคซีนที่เหมาะสม1
| มี
| ไม่มี
|
| ต้นกำเนิดอุบัติการ
| ไม่ทราบสาเหตุ
| ทราบ
|
| อัตราเกิดตัวป่วยใหม่2
| เพิ่มอย่างรวดเร็ว
| เพิ่มอย่างช้า ๆ
|
| การกระจายของอุบัติการ
| กระจายกว้าง
| จำกัด
|
| ความเห็นของเกษตรกรต่อการทำลายสัตว์ป่วย
| ต่อต้าน
| ไม่ต่อต้าน
|
หมายเหตุ
1. ต้องมีวัคซีนที่ออกฤทธิ์รวดเร็ว (high potency) ซึ่งเป็นแอนติเจนชนิดเดียวกันกับสายพันธุ์ที่ระบาด
2. วิเคราะห์จากอัตราเพิ่มตัวป่วยพื้นฐาน (basic reproduction ratio, R0) คือค่าเฉลี่ยจำนวนสัตว์ในฝูงที่ติดเชื้อจากจำนวนสัตว์ป่วย 1 ตัว
Previous
Next
|