|
ที่นี่: Home>โรคระบาด>โรคปากและเท้าเปื่อย>คู่มือควบคุมโรค>การกำหนดขอบเขตอุบัติการ วัตถุประสงค์
การกำหนดเขตควบคุมโรคมีประโยชน์ในการจำแนกลักษณะการปฏิบัติงานในพื้นที่แต่ละเขต ทำให้การปฏิบัติงานมีทิศทางที่ชัดเจน ไม่สับสน โดยมีแนวทางดังนี้ บริเวณปนเปื้อน เป็นตำแหน่งหรือบริเวณที่พบสัตว์ป่วยหรือทำการกักกันสัตว์ป่วยอยู่ รวมถึงพื้นที่ซึ่งสัตว์ที่ปกติ อาจได้รับการสัมผัสตัวป่วยมาแล้ว บริเวณปนเปื้อนจึงอาจจะเป็นครัวเรือนของเกษตรกร ฟาร์ม พื้นที่ที่เกษตรกรใช้เลี้ยงสัตว์ร่วมกัน แปลงหญ้าสาธารณะ ตลาดค้าสัตว์ หรือจุดลงสัตว์ บริเวณปนเปื้อน จึงอาจ ไม่ได้มีเพียงจุดเดียว และถือว่าเป็นจุดศูนย์กลางของโรค ในบริเวณนี้มีกิจกรรม ดังนี้ ภาพที่ 20 ภาพตัวอย่างการกำหนดเขตควบคุมโรค เขตควบคุมโรคชั้นใน เป็นพื้นที่รอบบริเวณปนเปื้อนควรมีรัศมีอย่างน้อยประมาณ 15 กม.รอบบริเวณปนเปื้อน ทั้งนี้ให้พิจารณาปัจจัยอื่น ๆ ที่มีส่วนต่อการแพร่กระจายเชื้อด้วย เช่น ความหนาแน่นของสัตว์ ชนิดสัตว์ในบริเวณนั้นที่สามารถติดโรคได้ ทำเลเลี้ยงสัตว์ร่วมกัน ระยะทางและเส้นทางที่ใช้ในการต้อนสัตว์ไปเลี้ยง เป็นต้น เขตควบคุมโรคชั้นในเป็นเขตที่ไม่มีสัตว์ป่วย และจะมีการฉีดวัคซีนวงแหวนในเขตนี้ รูปร่างของ เขต ไม่จำเป็นต้องเป็นรูปวงกลม โดยสามารถมีรูปร่างใดก็ได้ขึ้นกับข้อมูล การสอบสวนโรคในเขตนี้จะมีกิจกรรม ดังนี้ เขตควบคุมโรคชั้นนอกหรือเขตเฝ้าระวังโรค เป็นเขตที่กว้างขวางล้อมรอบเขตควบคุมโรคชั้นในทั้งหมด หากมีเขตโรคระบาดหลายจุดในคราวเดียวกันก็อาจกำหนดให้เป็นเฉพาะอำเภอนั้น หรือบางส่วนของอำเภอข้างเคียง หรือ พื้นที่ทั้งจังหวัดแล้วแต่กรณี โดยจะเป็นเขตกันชนระหว่างเขตควบคุมโรคชั้นในกับพื้นที่ด้านนอก เขตเฝ้าระวังเป็นเขตที่จะจัดให้มีกิจกรรมเกี่ยวกับการเฝ้าระวังโรคเพื่อการเตือนภัยสำหรับพื้นที่ปกติที่อยู่ข้างเคียง และจะต้องระบุขอบเขตที่แน่นอน ในเขตนี้จะมีกิจกรรม ดังนี้ ตารางที่ 16 ลักษณะของประชากรเมื่อเกิดอุบัติการโรค
++++ มีจำนวนมาก, + มีจำนวนน้อย, 0 ไม่มี ตารางที่ 17 ผลลัพธ์ประชากรที่ต้องการจากการควบคุมโรค
++++ ให้มีจำนวนมากที่สุด, + ให้มีจำนวนน้อยที่สุด, 0 ไม่มี | ||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||||