เพื่อให้การปฏิบัติงานเกี่ยวกับการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด และการทำลายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และมีประสิทธิผลในการควบคุมโรคระบาดรวมทั้งเพื่อให้เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และสอดคล้องกับการดำเนินการตามนโยบายของรัฐบาลในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร ตลอดจนเป็นการลดความสูญเสียทางเศษฐกิจ
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 10(4) ประกอบ มาตรา 33 (3) แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 และซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่ 2 ) พ.ศ. 2542 โดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ อธิบดีกรมปศุสัตว์จึงวางระเบียบการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดและการทำลายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ไว้ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ระเบียบนี้เรียกว่า ระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด และทำลายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2547
ข้อ 2 ระเบียบนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
ข้อ 3 ให้ยกเลิกระเบียบกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาด และทำลายสัตว์หรือซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด พ.ศ. 2538
ข้อ 4 ในระเบียบนี้
สัตว์ หมายความว่า สัตว์ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
ซากสัตว์ หมายความว่า ซากสัตว์ตามความหมายในกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
โรคระบาด หมายความว่า โรคระบาดตามความหมายในกฎกระทรวงว่าด้วยโรคระบาดสัตว์
สัตว์ที่โรคระบาด หมายความว่า สัตว์ที่ได้รับเชื้อโรคระบาดทั้งที่แสดงอาการและไม่แสดงอาการ
สัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด หมายความว่า สัตว์ใดที่อยู่ร่วมฝูงหรือเคยอยู่ร่วมฝูงกับสัตว์ที่เป็นโรคระบาดอันอาจติดเชื้อโรค หรือสัตว์ใดที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่าได้รับเชื้อจากการแพร่ของเชื้อโรคระบาดไปยังบริเวณที่สัตว์นั้นอยู่ และสัตว์นั้นสามารถแพร่เชื้อโรคระบาดและระบาดไปยังสัตว์อื่นได้
ซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด หมายความว่า ซาก สัตว์ที่มาจากสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด หรือซากสัตว์ที่มีเหตุอันเชื่อได้ว่าผ่านการสัมผัสกับซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด
ข้อ 5 ในการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดและการทำลายสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดตามระเบียบนี้ ให้ผู้สั่งทำลายสัตว์ดำเนินการเพื่อให้เจ้าของสัตว์ได้รับการชดใช้ราคาค่าสัตว์ซึ่งต้องถูกสั่งทำลายตามาระเบียบนี้ในอัตราตามที่กำหนดในกฎกระทรวง
ในกรณีที่เจ้าของสัตว์ได้จงใจกระทำความผิดต่อบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์พ.ศ. 2499 เจ้าของสัตว์จะไม่ได้รับการชดใช้ราคาสัตว์ซึ่งต้องถูกสั่งทำลาย และในกรณีเช่นนี้ ผู้สั่งทำลายสัตว์ไม่ต้องดำเนินการเพื่อให้เจ้าของสัตว์ได้รับการชดใช้ราคาค่าสัตว์ตามวรรคหนึ่งแต่อย่างใด
ข้อ 6 ให้ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคระบาดสัตว์ รักษาการตามระเบียบนี้
หมวด 1
สัตว์ซึ่งต้องถูกสั่งทำลาย อำนาจและวิธีการทำลาย
ข้อ 7 ภายใต้บังคับข้อ 5 และข้อ 8 ของระเบียบนี้เมื่อได้มีการตรวจพิสูจน์ตามหลักวิชาการสัตวแพทยศาสตร์แล้ว ปรากฏผลเป็นแน่ชัดว่า สัตว์ใดเป็นสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือเป็นสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดแล้วแต่กรณี ให้สัตวแพทย์ตามข้อ 8 หรือผู้รักษาการแทน หรือผู้รักษาราชการในตำแหน่งที่เป็นสัตวแพทย์แห่งท้องที่ที่พบสัตว์นั้นมีคำสั่งเป็นหนังสือให้ทำลายสัตว์นั้น และให้ดำเนินการทำลายสัตว์ ณ จุดที่พบโรคระบาดสัตว์ หรือสถานที่อื่นใดที่สัตวแพทย์เห็นสมควร
ข้อ 8 ให้สัตวแพทย์ในตำแหน่งต่อไปนี้ มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาดในเขตพื้นที่ที่รับผิดชอบ ตามชนิดของสัตว์ต่อเจ้าของสัตว์รายหนึ่ง ๆ ได้ไม่เกินจำนวนดังต่อไปนี้
(1) ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคระบาดสัตว์ มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ทั่วราชอาณาจักร
(ก) โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา ล่อ ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 1,000 ตัว
(ข) ไก่ เป็ด ห่าน ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 1,000,000 ตัว
(ค) สุนัข แมว ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 500 ตัว
(2) ผู้อำนวยการสำนักศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ในพื้นที่ที่สำนักศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยรับผิดชอบ
(ก) โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา ล่อ ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 500 ตัว
(ข) ไก่ เป็ด ห่าน ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 500,000 ตัว
(ค) สุนัข แมว ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 200 ตัว
(3) ปศุสัตว์จังหวัด มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ในพื้นที่จังหวัดที่รับผิดชอบ
(ก) โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา ล่อ ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 100 ตัว
(ข) ไก่ เป็ด ห่าน ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 200,000 ตัว
(ค) สุนัข แมว ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 100 ตัว
(4) หัวหน้าด่านกักสัตว์ มีอำนาจสั่งทำลายสัตว์ในด่านกักสัตว์ หรือสถานที่กักกันสัตว์ที่ด่านกักกันสัตว์รับผิดชอบ
(ก) โค กระบือ แพะ แกะ สุกร ม้า ลา ล่อ ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 50 ตัว
(ข) ไก่ เป็ด ห่าน ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 10,000 ตัว
(ค) สุนัข แมว ชนิดใดชนิดหนึ่ง หรือรวมกันรายละไม่เกิน 20 ตัว
การสั่งทำลายสัตว์สัตว์จำนวนที่เกินกว่าอำนาจของปศุสัตว์จังหวัด ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย
การสั่งทำลายสัตว์จำนวนที่เกินกว่าอำนาจของหัวหน้าด่านกักกันสัตว์และผู้อำนวยการสำนักศาสตร์สัตว์และสุขอนามัย ให้เป็นอำนาจของผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคระบาดสัตว์
การสั่งทำลายสัตว์ชนิดอื่นตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์และหรือจำนวนที่เกินกว่าอำนาจของผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคระบาดสัตว์ ให้เป็นอำนาจของอธิบดีกรมปศุสัตว์
ข้อ 9 ในการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดหรือสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ให้ใช้วิธีการอย่างใดอย่างหนึ่ง ดังต่อไปนี้ คือ
(1) ใช้สารเคมีให้สัตว์กินหรือฉีดหรือสูดดมเข้าร่างการสัตว์เพื่อให้สัตว์นั้นตายโดยไม่ทรมาน
(2) ทำลายสัตว์ด้วยปืนชนิดยิงสัตว์โดยเฉพาะ ยิงสัตว์นั้นให้ตาย
(3) ทำลายด้วยอาวุธปืนตามกฎหมายอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืน ฯ และสิ่งเทียมอาวุธปืน
(4) ทำลายสัตว์ด้วยวิธีอื่นตามที่อธิบดีกรมปศุสัตว์กำหนด
ข้อ 10 ซากสัตว์ซึ่งได้จากทำลายตามข้อ 9 ให้ผู้ทำลายสัตว์ดำเนินการทำลายซากสัตว์นั้นตามวิธีการที่กำหนดไว้ในข้อ 12
หมวด 2
ซากสัตว์ซึ่งต้องถูกสั่งทำลาย อำนาจและวิธีการทำลาย
ข้อ 11 ซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ให้สัตวแพทย์ตามข้อ 8 หรือผู้รักษาราชการแทน หรือผู้รักษาราชการในตำแหน่ง ที่เป็นสัตวแพทย์แห่งท้องที่ที่พบซากสัตว์นั้น มีคำสั่งเป็นหนังสือให้ทำลายซากสัตว์นั้น
ข้อ 12 ให้ทำลายซากสัตว์ที่เป็นพาหะของโรคระบาด ตามลักษณะของซากสัตว์นั้น ดังนี้
(1) ซากสัตว์ซึ่งมีลักษณะยังเป็นตัวสัตว์ทั้งตัวอยู่
(ก) ให้ผู้สั่งทำลายซากสัตว์มีคำสั่งให้ฝังซากสัตว์ใต้ระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร ถ้าเป็นสัตว์ใหญ่ให้พูนดินกลบหลุมเหนือระดับผิวดินไม่น้อยกว่า 50 เซนติเมตร อีกด้วย
(ข) ใช้สารเคมีที่สามารถฆ่าทำลายเชื้อจุลินทรีย์หรือเชื้อโรคต่างๆ ได้ ทำการแช่ ราด หรือโรยที่ส่วนต่างๆ ของซากสัตว์จนทั่ว หรือ
(ค) ใช้ไฟเผาซากสัตว์นั้นให้ไหม้จนหมดสิ้น
(ง) ใช้วิธีการทำลายซากสัตว์ด้วยวิธีอื่นตามที่อธิบดีกำหนด
(2)ซากสัตว์ไม่มีลักษณะเป็นซากสัตว์ทั้งตัว หรือเป็นซากสัตว์บางส่วนแต่ไม่ใช่ซากสัตว์บางส่วนที่ตัดออกจากสัตว์ขณะยังมีชีวิต ให้ทำลายตามวิธีการที่กำหนดใน (1) โดยอนุโลม
กรณีซากสัตว์ที่ตัดออกจากสัตว์ขณะที่สัตว์ยังมีชีวิต เช่น งา เขา ขน และสัตวแพทย์พิจารณาแล้วเห็นว่าซากสัตว์นั้น ยังใช้เป็นประโยชน์ได้ ให้จัดการทำลายเชื้อโรคระบาดด้วยวิธีพ่น แช่ ราด หรืออบด้วยสารเคมีที่สามารถฆ่าเชื้อโรคได้ หรืออบด้วยความร้อนที่สามารถฆ่าทำลายเชื้อโรคได้ จนกว่าซากสัตว์นั้ปลอดจากโรคระบาดตามหลักวิชาการสัตวแพทยศาสตร์
ประกาศ ณ วันที่ 22 กันยายน พ.ศ. 2547
ยุคล ลิ้มแหลมทอง
(ยุคล ลิ้มแหลมทอง)
อธิบดีกรมปศุสัตว์
(ตัวอย่าง)
หนังสือยินยอมให้ทำลายสัตว์ป่วย |
ข้าพเจ้า ........................................... อายุ...........ปี (ลงชื่อ)..............................เจ้าของสัตว์ |
บันทึกความเห็นของคณะกรรมการประเมินราคาสัตว์ |
เวลา 11.30 น. คณะกรรมการประเมินราคาสัตว์ได้พร้อมกันประเมินราคาสัตว์........................จำนวน........ตัว ของ ............................................ มีความเห็นพร้อมกัน ดังนี้.- (ลงชื่อ) ...................... ประธานกรรมการ |
บันทึกการประเมินราคาสัตว์ป่วยด้วยโรคระบาดเพื่อการทำลาย |
คณะกรรมการประเมินราคาได้ตรวจและประเมินราคาสัตว์ป่วยด้วยโรคระบาดชนิด ......................... เพื่อทำลายตามระเบียบการทำลายสัตว์ที่เป็นโรคระบาดแห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2499 ของนาย/นาง/นางสาว .............................. บ้านเลขที่ ..... หมู่ที่ ...... ตำบล ............... อำเภอ ..................... จังหวัด .............. ซึ่งสัตว์ป่วย (ชนิดสัตว์ ................. จำนวน .......ตัว) (ลงชื่อ) ...................... ประธานกรรมการ |
บันทึกการทำลายสัตว์ป่วยด้วยโรคระบาดสัตว์ |
ด้วยเจ้าหน้าที่สัตวแพทย์ได้มาทำลายสัตว์ป่วยด้วยโรคระบาดชนิด...................... ของ นาย / นาง / นางสาว .............................. อยู่บ้านเลขที่ ...... .ถนน ................... หมู่ที่ ..... ตำบล.................อำเภอ ....................จังหวัด ................... เมื่อวันที่ ..... เดือน ................... พ.ศ. ......... เวลา ............ โดยมีรายละเอียดสัตว์ดังนี้ (ลงชื่อ) .................... ผู้ควบคุมการทำลาย |
บันทึกของคณะกรรมการควบคุมการทำลายสัตว์ |
คณะกรรมการได้พร้อมกันควบคุมการทำลาย ................... ซึ่งป่วยด้วยโรคระบาดสัตว์ชนิด ..........จำนวน ...........ตัว ของ (ลงชื่อ).............................ประธานกรรมการ |