1  

ส่วนป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9 กรมปศุสัตว์

ที่นี่: Home>กฏหมาย>กฎกระทรวง ว่าด้วยสัตว์ชนิดอื่น พ.ศ. ๒๕๔๖


กฎกระทรวงว่าด้วยสัตว์ชนิดอื่น
พ.ศ. ๒๕๔๖


บันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบกฎกระทรวงกำหนดสัตว์ชนิดอื่น ตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๕๔๖

หลักการ

แก้ไขเพิ่มเติมการกำหนดสัตว์ชนิดอื่นตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.๒๔๙๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒

เหตุผล

เนื่องจากสัตว์จำพวกจิงโจ้ อีกัวน่า กบ กุ้ง ตะพาบน้ำ เต่า ปลา ปู และหอย อาจเกิดโรคระบาดที่รุนแรงและแพร่เชื้อโรคจากสัตว์ดังกล่าวมาถึงมนุษญ์ เช่น โรคแซลโมเนลลา (Salmonellosis ) เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคอันอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนและอาจเกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจของประเทศได้ สมควรกำหนดให้สัตว์ดังกล่าวเป็นสัตว์ชนิดอื่นตามมาตรา ๔ แห่งพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. ๒๔๙๙ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติม โดยพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ. ๒๕๔๒ ประกอบกับได้มีการกำหนดสัตว์ชนิดอื่นไว้ในกำกระทรวงหลายฉบับ สมควรปรับปรุงเป็นฉบับเดียวกัน จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้

(๑) (๒) (๓) (๔) กระทิงหรือเมย (๕) กวาง (๖) กวางผา (๗) กุ้ง (๘) กูปรีหือโคไพร (๙) ควายป่า (๑๐) ค่าง (๑๑) จระเข้ (๑๒) จิ้งโจ้ (๑๓) ตะพาบน้ำ (๑๔) เต่า (๑๕) ทรายหรือเนื้อทรายหรือตามะแน (๑๖) นากหญ้า (๑๗) นางอายหรือลิงลม (๑๘) ปลา (๑๙) ปู่ (๒๐) แมวป่า (๒๑) ยีราฟ (๒๒) แรด (๒๓) ละองหรือละมั่ง () เลียงผาหรือเยียงหรือโครำหรือกูรำ () วัวแดงหรือวัวดำหรือวัวเพาะ () สมเสร็จหรือผสมเสร็จ () สมันหรือเนื้อสมัน () สิงโต () เสือ () หมี () หมูป่า () หอย () อีกัวน่า () อีเก้งหรือฟาน () อูฐ () ฮิปโปโปเตมัส ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๗ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๔๖ สรอรรถ กลิ่นประทุม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์