ที่นี่: Home>โรคระบาด>โรคบรูเซลโลซิส>Br. melitensis
โรคบรูเซลโลซิสในแพะ
(Brucella melitensis)
ความสำคัญ |
อาการ |
พยาธิกำเนิดและการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน|
วิธีติดเชื้อ|
การวินิจฉัยโรค |
วัคซีน |
โรคบรูเซลโลซิส Brucellosis (Brucella melitensis)
ความสำคัญ
โรคบรูเซลโลซิสเป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์ถึงคนได้ แต่แทบทั้งหมดจะไม่ติดต่อระหว่างคน (dead-end host) โรคนี้โดยมากแล้วจะเป็นกับผู้ที่มีอาชีพสัมผัสกับโรค ได้แก่ สัตวแพทย์ เกษตรกร คนงานโรงฆ่าสัตว์ ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับสัตว์หรือผลิตภัณฑ์ ซึ่งจะติดโรคโดยการสัมผัสตรงหรือทางอ้อมผ่านทางผิวหนัง เยื่อเมือก การกินผลผลิตจากสัตว์ที่ปนเปื้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งน้ำนมดิบ
คนจะสามารถติดโรคได้จาก B. abortus, B. melitensis, B. suis แต่ B. melitensis และ B. suis จะทำให้เกิดโรคที่รุนแรงและเรื้อรัง ส่วน B. abortus มักจะไม่ค่อยปรากฏอาการ โรคนี้มีระยะฟักตัวในคน 8-20 วัน
อาการในคน มีแบบเฉียบพลัน ทำให้อ่อนแรง ปวดหัว ปวดกล้ามเนื้อและปวดข้อ เหงื่อไหลท่วมในเวลากลางคืน แต่โรคจะมีการปรากฏอาการเฉพาะที่ ได้แก่ ข้ออักเสบที่สะโพก หัวเข่า ไหล่ อัณฑะอักเสบ โรคนี้จะกลายเป็นสภาพเรื้อรังได้นานมากกว่า 6 เดือน
อาการ
- แบบเฉียบพลัน อาการในแพะ แกะ ได้แก่ อาการแท้ง หรือให้ลูกที่อ่อนแอ การแท้งจะเกิดในช่วงตั้งท้อง 2 เดือนสุดท้าย บางตัวมีรกค้าง ในตัวผู้มีการลงโรคที่อัณฑะ ท่อเก็บน้ำเชื้อ ต่อมอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เกิดอาการอักเสบและไม่สมบูรณ์พันธุ์ พบอาการข้ออักเสบได้ทั้งในเพศผู้และเมีย
- แบบเรื้อรัง สัตว์จะแท้งเพียงครั้งเดียว แต่เชื้อจะกลับเข้าในมดลูกและขับเชื้อออกมากับเนื้อเยื่อและของเหลวช่องคลอด สัตว์ไม่ตั้งท้องซึ่งรับเชื้อจำนวนน้อยจะทำให้เกิดการติดเชื้อที่จำกัดตัว มีภูมิคุ้มกันโรค หรือเป็นพวกติดเชื้อแฝง (latent carriers) ในแพะจะเกิดการติดเชื้อตลอดไปโดยจะพบเชื้อที่เต้านมและต่อมน้ำเหลืองเต้านม (supramammary lymph nodes) และจะมีการขับเชื้อออกมาในน้ำนมอย่างถาวร หรือเป็นครั้งคราว แต่ในแกะโรคจะจำกัดตัว น้อยตัวที่จะขับเชื้อยาวนาน ส่วนอาการอัณฑะอักเสบจะเป็นแบบเรื้อรัง
พยาธิกำเนิดและการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน
ในแง่พยาธิวิทยา B. melitensis ในแพะแกะจะไม่แตกต่างกับ
ในโค กระบือ แต่เชื้อ Brucella แต่ละชนิดก็มีความแตกต่างกัน ทำให้โรคที่เกิดขึ้นแตกต่างกันในด้านความรุนแรง Brucella เป็นเชื้อที่อยู่ในเซลของระบบน้ำเหลือง (faculatative intracellular parasites of the reticuloendothelial system) ความรุนแรงของเชื้อแตกต่างกันขึ้นกับชนิดของเชื้อ ตำแหน่งที่รับเชื้อ ความไวของ host และระยะสืบพันธุ์ ดังนั้นในอุบัติการโรคจริงจะพบอาการได้ตั้งแต่แบบเฉียบพลันไปจนถึงทนโรคได้อย่างสมบูรณ์
- ระยะโรค ช่องทางหลักที่เชื้อเข้าสู่ร่างกายคือเยื่อเมือกของช่องปากคอหอย, ทางเดินหายใจส่วนบน และเยื่อบุตา ช่องทางอื่นได้แก่เยื่อบุของระบบสืบพันธุ์ เชื้อจะผ่านข้าช่องน้ำเหลืองไปที่ต่อมน้ำเหลืองใกล้ที่สุด ถ้าเชื้อเอาชนะกลไกการป้องกันของร่างกายซึ่งใช้ macrophage, T lymphocyte และ เแอนติบอดี เชื้อจะกระจายในเลือด (bacteremia) ซึ่งจะตรวจพบภายใน 10-20 วัน และยาวนานไปถึง 1-2 เดือน
ถ้าสัตว์ตั้งท้องเชื้อจะเข้าสู่มดลูก และจะพบเชื้อในต่อมน้ำเหลือง เต้านม และ ม้าม
1. ในระยะแรกของโรคจะพบอาการแท้ง เว้นแต่เป็นการติดเชื้อในระยะปลายของการตั้งท้อง แต่การลงโรคในอวัยวะเฉพาะ (localisation) ก็อาจพบได้ (orchitis, epididymitis, hygroma, arthritis, metritis, subclinical mastitis) ฯลฯ) บางตัวอาจพบการติดเชื้อที่จำกัดตัว (self-limiting infections) และกลายเป็นตัวเก็บโรคที่ไม่แสดงอาการ (asymptotic latent carriers) และเป็นตัวขับเชื้ออย่างฉกาจ
2. ในระยะที่สองจะพบการขจัดเชื้อออกจากร่างกาย แต่ที่มักพบคือการติดเชื้อที่ยืนนานในเต้านม ต่อมน้ำเหลืองเต้านม และอวัยวะสืบพันธุ์ และการขับเชื้ออย่างถาวรหรือเป็นครั้งคราวในน้ำนมหรืออวัยวะสืบพันธุ์
สัตว์จะแท้งเพียงครั้งเดียวกลางการตั้งท้องช่วงที่สาม แตในการตั้งท้องครั้งต่อมา่เชื้อจะกลับเข้ามดลูกซ้ำอีกพร้อมทั้งสามารถขับเชื้อออกได้ทางของเหลวและเนื้อเยื่อ การตั้งท้องจะครบระยะ อัตราเป็นโรคในฝูงอาจสูงถึง 40% ตัวเมียที่เกิดในสภาพแวดล้อมที่ปนเปื้อนและเกิดติดเชื้อในภายหลังจะแท้งน้อยลง ดังนั้นจึงพบว่าในฝูงที่ติดเชื้อใหม่จะมีอัตราการแท้งสูง ในขณะที่หากเป็นพื้นที่มีโรคสะสมจะพบอัตราแท้งที่ต่ำลง
เต้านมเป็นอวัยวะเป้าหมายที่สำคัญของ B. melitensis การติดเชื้อในแพะท้องว่างที่ให้นมจะทำให้เชื้อจับกลุ่มในเต้านมและขับเชื้อ B. melitensis ออกมาในน้ำนม แต่แทบจะสังเกตไม่พบอาการเต้านมอักเสบ
- การติดเชื้อจะทำให้เกิดการตอบสนองทางภูมิคุ้มกันตามมา แต่ขนาดและช่วงเวลาจะผันแปรขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ ได้แก่ความรุนแรงของสายพันธุ์เชื้อ, ปริมาณเชื้อที่เข้าไป, การตั้งท้อง, เพศ และสภาพภูมิต้านทานโรคของ host
humoral immunity การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันจะเกิดภายใน 2-4 สัปดาห์หลังติดเชื้อ แต่การตอบสนองอาจผันแปรอาจไม่มีเลยก็ได้ การที่เชื้อเข้าไปในมดลูกตั้งท้องคาดว่าจะทำให้เกิดการสร้างแอนติบอดีจำนวนมากแต่อาจถูกหน่วงไว้จนกระทั่งแท้งหรือคลอดตามปกติ ส่วนการที่เชื้อเข้าไปในเต้านมจะทำให้เกิดการตอบสนองทางซีรั่มน้อยกว่า การเก็บเชื้อในต่อมน้ำเหลืองยิ่งยากที่จะกระตุ้นให้เกิดการตอบสนองทางซีรั่ม
รูปแบบของการตอบสนองทางซีรั่มในรูปของการสร้าง immunoglobulin ในแพะแกะ ยังไม่ได้มีการศึกษาอย่างกว้างขวางเหมือนในโคกระบือ แต่ข้อมูลที่มีอยู่พบว่ามีความใกล้เคียงกัน ดังเช่น พบ IgM ก่อน แล้วจึง IgG ที่เด่นชัดตามมาใน 1-2 สัปดาห์ และการตอบสนองจะเบาบางบางครั้งไม่พบเลยในสัตว์ที่ยังไม่เจริญพันธุ์
cell mediated immunity (CMI) การป้องกันโดยอาศัยเซลเกิดจาก macrophage และ T lymphocytes มีการกระตุ้นเซล lymphocyte, การยับยั้งเซล macrophage, delayed-type hypersensitivity, interferon induction การตอบสนองเหล่านี้จะเกิดขึ้นภายในไม่กี่สัปดาห์เช่นเดียวกับ humoral immunity แต่จะผันแปรหรืออาจไม่พบเลย
วิธีติดเชื้อ
- การขับเชื้อ เชื้อจะถูกขับออกจากร่างกายแพะแกะทางอวัยวะสืบพันธุ์เพศเมีย สิ่งที่ปนเปื้อนเชื้อได้แก่ รก, น้ำึคร่ำ ของเหลวจากช่องคลอดในช่วงแท้งลูก และช่วงคลอดปกติ ในแพะการขับเชื้อจะยาวนาน 2-3 เดทฃือน ในแกะจะขับเชื้อประมาณ 3 สัปดาห์จากช่วงแท้งลูก และช่วงคลอดปกติ การขับเชื้อยังพบได้จากน้ำนมและน้ำเชื้อ การเพาะแยกเชื้อจะพบได้ตามเนื้อเยื่อของร่างกาย ได้แก่ ต่อมน้ำเหลืองบริเวณศรีษะ บริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ และวิการที่ข้อขา
- วิธีติดเชื้อเป็นได้ทั้งแบบโดยตรง และทางอ้อม สัตว์ติดเชื้อโดยตรงจากละอองเชื้อหรือกินสิ่งปนเปื้อนเชื้อ การติดเชื้อโดยทางอ้อมได้แก่ การที่สัตว์ปล่อยแทะเล็มในแปลงที่ปนเปื้อนเชื้อ ในสัตว์เพศผู้ การที่เชื้อลงอวัยวะสืบพันธุ์ทำให้สามารถพบเชื้อในน้ำเชื้อ แต่พบว่า่การผสมพันธุ์ตามธรรมชาติมีความเสี่ยงต่ำที่จะเกิดการถ่ายเชื้อไปยังตัวเมีย
สุนัขเป็นตัวพาโรคไปได้ การกระจายผ่านทางน้ำพบน้อยมากแต่อาจเป็นไปได้ในระยะทางใกล้ การติดเชื้อในเต้านมจะทำให้พบเชื้อในน้ำนมอย่างถาวรหรือเป็นครั้งคราวได้ จำนวนเชื้อในน้ำนมค่อนข้างน้อยแต่ก็เพียงพอที่จะทำให้เกิดการติดเชื้อไปสู่ลูกสัตว์และทำให้เกิดการติดเชื้อทางอ้อมโดยปนเปื้อนกับมือผู้รีดน้ำนม
- การติดเชื้อสู่ลูก การติดเชื้อตั้งแต่ในท้องแม่เกิดขึ้นค่อนข้างน้อย ส่วนใหญ่การติดเชื้อสู่ลูกเกิดจากการกินน้ำนมแม่ ทำให้ต่อมน้ำเหลืองของระบบย่อยอาหารลูกแพะแกะเกิดติดเชื้อแล้วจะทำให้ขับเชื้อออกทางอุจจาระได้ แต่ลูกแพะแกะอาจมีกลไกทำให้โรคหายได้เองเช่นเดียวกับโคกระบือ และจะทำให้ลูกแพะแกะไวต่อโรคอีกครั้งหนึ่งเมื่อถึงระยะสมบูรณ์พันธุ์ สำหรับ B melitensis สภาพแฝงเชื้อ (latent infection) จะทำให้การกำจัดโรคยากลำบาก เนื่องจากสภาพภูมิคุ้มกันไม่ตอบสนอง (immunotolerance) จะทำให้ไม่สามารถตรวจทดสอบโรคได้ ซึ่งกลไกสภาพดังกล่าวยังไม่ทราบแน่ชัด
- การอยู่รอดในสภาพแวดล้อม ความสามารถในการอยู่รอดของ Brucella นอกตัวสัตว์ค่อนข้างดีเมื่อเปรียบเทียบกับแบคทีเรียที่ไม่สร้างสปอร์พวกเดียวกัน สภาพที่เอื้ออำนวยในการอยู่รอดได้แก่ pH<4, ความชื้นสูง, อุณหภูมิต่ำ และไม่มีแสงแดดส่องโดยตรง เชื้อจะมีฤทธิ์อยู่ได้นานหลายเดือนในน้ำ, ลูกที่แท้ง, เนื้อเยื่อลูก, อุจจาระ และของเสีย, หญ้าแห้ง, โรงเรือน, เครื่องมือ และเสื้อผ้า Brucella ยังทนต่อสภาพแห้งหากมีอินทรียสารและจะมีชีวิตอยู่ได้ในฝุ่นและดิน การปนเปื้อนเครื่องมือจะสามารถทำปลอดเชื้อได้โดยการอบความดัน (121°C) การฆ่าเชื้อด้วยสารเคมีจะช่วยทำลายเชื้อที่ปนเปื้อนพื้นที่ได้ โดย xylene (1 ml/litre) และ calcium cyanamide (20 kg/m3) มีประสิทธิภาพที่จะใช้กับของเสียเหลวจากโรงเรือน หลังจาก 2-4 สัปดาห์ การใช้ยาฆ่าเชื้อ sodium hypochlorite 2.5%, โซดาไฟ (caustic soda) 2-3%, น้ำปูนขาวเตรียมสด (freshly slaked lime suspension) 20%, สารละลาย formalin ( formaldehyde) 2% เพียงพอที่จะทำลายเชื้อBrucella บนพื้นผิวที่แปดเปื้อน
การอยู่รอดของเชื้อในผลิตภัณฑ์นมพบว่าในผลิตภัณฑ์ที่มีความเข้มข้นต่ำ เชื้อจะไวต่อความร้อน เช่น ในน้ำนมที่ทำการพาสเจอไรส์ หรือในน้่ำำนมที่ต้มนาน 10 นาที
ในซากที่แช่แข็งเชื้อจะอยู่ได้นานหลายปี จำนวนเชื้อที่มีอยู่ในชั้นกล้ามเนื้อมีจำนวนน้อยและถูกทำลายเมื่อ pH ในเนื้อลดลง การปนเปื้อนในโรงฆ่าสามารถหลีกเลี่ยงได้โดยการปฏิบัติที่เหมาะสม ทิ้งเต้านม, อวัยวะสืบพันธุ์, ต่อมน้ำเหลือง
ยาฆ่าเชื้อทั่วไปตามขนาดที่แนะนำสามารถฆ่าเชื้อBrucella ที่แขวนลอยในน้ำได้ (phenol 10 g/l, formaldehyde,xylene 1 ml/l) ยกเว้นแต่เมื่อมีการสะสมของอินทรียสารหรือมีอุณหภูมิต่ำจะทำให้ประสิทธิภาพลดลงมาก ดังนั้นถ้าเป็นไปได้การฆ่าเชื้อบนพื้นผิวควรจะใช้ความร้อน ยาฆ่าเชื้อที่ไม่เหมาะสมได้แก่ quaternary ammonium compound
ตารางที่ 2 ความทนทานของ Brucella ของ ที่มา : Scientific Comittee, 2001
แหล่ง
| อุณหภูมิ/สภาพแวดล้อม
| ระยะเวลามีชีวิต |
แสงแดด
| <31°C
| 4.5 ชั่วโมง
|
น้ำ
| -4°C
| 4 เดือน
|
น้ำห้องปฏิบัติการ
| 20°C
| 2.5 เดือน
|
แหล่งน้ำ, ทะเลสาบ
| 37°C pH 7.2
| <1 วัน
|
แหล่งน้ำ, ทะเลสาบ
| 8°C pH 6.5
| >2 เดือน
|
ดิน
| ในห้องที่แห้ง
| <4 วัน
|
ดิน
| แห้ง 18°C
| 69-72 วัน
|
ดิน
| เปียก
| >7 วัน
|
ดิน
| ภูมิอากาศชื้น
| >2 เดือน
|
ดิน
| ความชื้น 90%
| 48-73 วัน
|
น้ำปัสสาวะ
| 37°C pH 8.5
| 16 ชม.
|
น้ำนมดิบ
| 25-37°C
| 24 ชม.
|
น้ำนมดิบ
| 8°C
| 48 ชม.
|
น้ำนมดิบ
| -40°C
| 2.5 ปี
|
มูลสัตว์
| ฤดูร้อน
| 1 วัน
|
มูลสัตว์
| 25°C
| 1 เดือน
|
มูลสัตว์
| ฤดูหนาว
| 2 เดือน
|
มูลสัตว์
| 8°C
| 1 ปี
|
มูลสัตว์
| -3°C
| 3 เดือน
|
มูลสัตว์, เหลว
| ฤดูร้อน
| 3 เดือน
|
มูลสัตว์, เหลว
| ฤดูหนาว
| 6 เดือน
|
มูลสัตว์, เหลว
| แทงค์
| 1.5 เดือน
|
น้ำทิ้ง
| แทงค์ 12°C
| 7 สัปดาห์
|
น้ำทิ้ง
| แทงค์ 12°C
| >8 เดือน
|
หญ้าแห้ง
|
| หลายวันจนถึงเดือน
|
ฝุ่นท้องถนน
|
| 3-44 นาที
|
พื้นไม้แห้ง
|
| 4 เดือน
|
แปลงหญ้า
| แดด
| <5 วัน
|
พื้นไม้แห้ง
| ร่มเงา
| >6 วัน
|
ตารางที่ 3 ระยะเวลามีชีวิตของ Brucella ในผลิตภัณฑ์นม ที่มา : Scientific Comittee, 2001
แหล่ง
| เชื้อ
| อุณหภุมิ
| pH
| ระยะเวลามีชีวิต |
น้ำนม
| B. abortus
| 71.7
| -
| 5-15 วินาที |
น้ำนม
| B. abortus
| 38
| 4.0
| <9 ชม. |
น้ำนม
| B. abortus
| 25-37
| -
| 24 ชม. |
น้ำนม
| B. abortus
| 0
| -
| 18 เดือน |
ครีม
| B. abortus
| 4
| -
| 6 สัปดาห์ |
ครีม
| B. melitensis
| 4
| -
| 4 สัปดาห์ |
ความไวต่อโรค
- อายุ B. melitensisทำให้เกิดโรคในสัตว์โตเต็มวัย สัตว์อายุน้อยอาจติดเชื้อแต่ไม่แสดงอาการ หรืออาจอ่อนแอบ้างและมีการตอบสนองของภูมิคุ้มกันเพียงเล็กน้อย ความไวต่อโรคจะเพิ่มขึ้นเมื่ออายุมากขึ้นโดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อตั้งท้อง
- ชนิดและพันธุ์ ในลาตินอเมริกา แพะเป็น host หลักของB. melitensis แม้แกะจะสัมผัสใกล้ชิดกับแหล่งโรคแต่อัตราป่วยจะไม่สูงเท่า ความสำคัญของแพะเปรียบเทียบกับแกะอาจมีความแตกต่างกันขึ้นกับแต่ละพื้นที่
การขับเชื้อจากช่องคลอดแพะยาวนานกว่าโคกว่าจะหมดไปอาจนานถึง 2-3 เดือน ดังนั้นในแพะ 2 ใน 3 ของการติดเชื้ออย่างเฉียบพลันจะเกิดในช่วงการตั้งท้อง หลังจากนั้นก็จะเกิดการขับเชื้อในน้ำนมในช่วงให้น้ำนมที่ตามมา การติดเชื้อจะทำให้ปริมาณน้ำนมลดลงมากกว่าที่พบในโค
- ปัจจัยสนับสนุน การเลี้ยงและสภาพแวดล้อมมีผลต่อการกระจายโรค การเลี้ยงในโรงเรือนที่มืดจะทำให้เชื้อกระจายเพิ่มจำนวนได้ดีกว่า พื้นที่เปิดโล่งและสภาพแวดล้อมแห้ง การกระจายข้ามฝูงเกิดจากการเคลื่อนย้ายสัตว์ นำสัตว์ติดเชื้อเข้าฝูง การเลี้ยงไล่ต้อนในแหล่งเลี้ยงร่วมกันจะเอื้ออำนวยให้เกิดการติดเชื้อสู่กัน
- B. melitensis ในสัตว์ชนิดอื่น
สุนัข สามารถติดเชื้อ แต่จะขจัดโรคได้อย่างรวดเร็ว แต่จะมีบทบาทในการพาเศษซากสัตว์ที่ปนเปื้อนกระจายออก
วัว ควาย ในพื้นที่มีโรคในแพะ แกะ พบว่าโค กระบือสามารถติดเชื้อได้แต่ยังไม่พบว่าจะสามารถเก็บเชื้อไว้ในฝูงได้ตลอดไปหรือไม่หากไม่มีแพะแกะั โคกระบือที่ป่วยเป็นดรคจะมีอาการแท้งเช่นเดียวกัน การขับเชื้อในน้ำนมจะยาวนานเป็นปีและจะทำให้ผู้เลี้ยงติดโรค หรือผู้ดื่มน้ำนมติดโรค การกำจัดโรคใช้การทดสอบและทำลาย
สุกร สุกรไวต่อ B. melitensis เช่นเดียวกัน แต่จะเกิดในพื้นที่เลี้ยงสุกรแบบปล่อยลานเท่านั้น
การวินิจฉัยโรค
1. ตรวจจับเชื้อโดยตรง ได้แก่การเพาะแยกเชื้อ
2. การตรวจทางซีรั่มวิทยา เป็นที่ยอมรับกันว่าวิธีการตรวจทดสอบที่ใช้สำหรับ B. abortus ในโคกระบือ สามารถนำมาใช้ในการตรวจ B. melitensis ได้ โดยทั่วไปแล้วจะใช้ rose bengal test ร่วมกับ complement fixation test
- rose bengal test ในการทดสอบโรคในแพะแกะจะต้องเพิ่มปริมาณซีรั่มจาก 25µ l เป็น 75µ l
วัคซีน
วัคซีนป้องกันโรคนี้ได้แก่ วัคซีน Brucella melitensis Rev.1 strain ยังไม่มีการนำเข้ามาใช้ในประเทศไทย
หนังสืออ้างอิง
EU. 2001. Brucellosis in Sheep and Goats (Brucella melitensis). Scientific Committee on Animal Health and Animal Welfare, European Commission. 12 July 2001. access via http://www.europa.eu.int/comm/food/fs/sc/scah/out59_en.pdf
Top
Previous
Next