กิจกรรมเฝ้าระวังโรค FMD ในเขตควบคุมโรค
ปีงบประมาณ 2548
- การเฝ้าระวัง (survelliance) เป็นการค้นหาตรวจจับโรคอย่างต่อเนื่องในประชากรที่กำหนด มีการทดสอบโรคในประชากร และติดตาม (monitoring) อย่างต่อเนื่องเพื่อวัดการเปลี่ยนแปลงระดับความชุกโรค ทั้งนี้การเฝ้าระวังโรค สามารถแบ่งได้เป็น 1) passive surveillance ใช้ตรวจว่ามีการปรากฏของโรคหรือไม่ และ 2) active surveillance ใช้ในการยืนยันโรคเป็นพิเศษสำหรับกรณีสงสัยว่าจะมีโรค และหาปริมาณความชุกโรค หรือยืนยันการปลอดจากโรค/เชื้อโรคในพื้นที่ที่กำหนด
- โรคปากและเท้าเปื่อย (foot-and-mouth disease, FMD) เป็นโรคระบาดที่มีผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าปศุสัตว์คิดเป็นมูลค่ามหาศาล และ หน่วยประสานงานระดับภูมิภาคแห่งสำนักงานโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIERCU) ได้สนับสนุนให้มีการรณรงค์สร้างเขตปลอดโรคในระดับนานาชาติขึ้น ระหว่างประเทศมาเลเซีย ไทย และเมียนม่าร์ (Malaysian Thailand Myanmar Peninsular Campaign for FMD Freedom)
- ตามข้อกำหนดมาตรฐานขั้นต่ำในการสร้างเขตปลอดโรค FMD ตามโครงการ MTM จะต้องมีการเฝ้าระวังโรคเพื่อเป็นการยืนยันประสิทธิผลของมาตรการ ต่างๆ ในการรณรงค์ และจะเป็นการขยายความก้าวหน้าจากเขตควบคุมโรคไปสู่เขตกำจัดโรค
- 1. เพื่อประมาณระดับการถ่ายเทของไวรัส FMD ในเขตพื้นที่ สสอ.9
- 2. เพื่อประเมินประสิทธิภาพในการควบคุมโรค ในเขตพื้นที่ สสอ.9
- สำรวจความชุกต่อโรค FMD ในเขตพื้นที่ สสอ.9
ตารางที่ 1 ประชากรสัตว์ในพื้นที่ สสอ.9 ที่ไวต่อ FMD
จังหวัด | โคนม | โคเนื้อ | กระบือ | แพะ | แกะ | สุกร |
นธ. 558 ม. | 28 | 62,136 | 6,036 | 14,683 | 3,931 | 10,949 |
ปน.629 ม. | 0 | 57,859 | 725 | 13,850 | 11,080 | 11,186 |
พท.635 ม. | 3,769 | 67,143 | 2,403 | 5,555 | 163 | 117,670 |
สต.262 ม. | 10 | 20,716 | 1,108 | 12,907 | 75 | 9,602 |
สข. 994 ม. | 180 | 84,030 | 2,961 | 13,338 | 1,578 | 143,439 |
ตร. 705ม. | 10 | 44,063 | 615 | 9,399 | 3 | 60,210 |
ยล. 348 ม. | 103 | 37,314 | 2,602 | 15,879 | 7,901 | 19,600 |
4,131 ม. | 4,100 | 373,261 | 16,450 | 114,279 | 26,704 | 372,656 |
วิธีดำเนินการ
การเตรียมการ
- กรอบการสุ่มตัวอย่าง (sampling frame): เขตพื้นที่ สสอ.9 ขนาด 29,551.7 ตร.กม. จำนวน 7 จังหวัด
ได้แก่ ตรัง พัทลุง สงขลา สตูล ปัตตานี ยะลา นราธิวาส (ตารางที่ 1)
- ชนิดสัตว์ที่ศึกษา : โคเนื้อและโคพื้นเมือง 1) อายุ 6-12 เดือน และ 2) อายุ > 1 ปี
- ตัวแปรที่ศึกษา: แอนติบอดี (antibodies) ต่อ non structural proteins (NSP) ของไวรัส FMD ในโค
ซึ่งเป็นตัวบ่งชี้การมีอยู่ของไวรัส ตัวอย่างที่ให้ผลบวกต่อ NSP test จะนำไปทำการตรวจต่อด้วย LPB ELISA test เพื่อตรวจหา serotype ที่เกี่ยวข้อง
- การออกแบบสุ่ม วิธีการสุ่ม ใช้การสุ่ม 2 ขั้นตอน (two-stage cluster sampling)
- ขั้นตอนที่ 1 หน่วยสุ่มปฐมภูมิ (primary sampling unit, PSU) คือหมู่บ้าน,
- ขั้นตอนที่ 2 หน่วยสุ่มทุติยภูมิ (secondary sampling unit, SSU) คือ โคเนื้อและโคพื้นเมืองของเกษตรกรในหมู่บ้าน
- จำนวนตัวอย่าง จำนวนหมู่บ้านและจำนวนโค อาศัยการคำนวณจากโปรแกรมคอมพิวเตอร์ Survey Toolbox (Cameron, 2002) ด้วย module Prevalence Survey ตามสูตรคำนวณ (Levy and Lemeshow, 1991) ดังนี้
จำนวนสุ่มสัตว์ต่อหมู่บ้าน จำนวนสุ่มหมู่บ้าน โดยมีค่าต่าง ๆ ที่ใช้ในการคำนวณในโปรแกรม ดังนี้ จำนวนหมู่บ้านทั้งหมด (number of clusters (PSU) in the population= 4,131 หมู่บ้าน จำนวนโคเนื้อและพื้นเมืองเฉลี่ยต่อหมู่บ้าน (average number of SSU per cluster)=300 ตัว ความแปรปรวนตัวอย่างระหว่างหมู่บ้าน (sample variance between clusters, ) = 0.03 ความแปรปรวนตัวอย่างภายในหมู่บ้าน (sample variance within clusters, ) = 0.18 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรายหมู่บ้าน (cost per PSU, C1) หมู่บ้านละ 1,200 บาท ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการรายตัว (cost per SSU, C2) ตัวละ =120 บาท สัดส่วนของประชากรที่ให้ผลบวก (proportion of population with the characteristic, Π) =10% (โดยประมาณ) ค่าความคลาดเคลื่อน =±5% จะได้จำนวนหมู่บ้าน=46 หมู่บ้าน จำนวนสัตว์ต่อหมู่บ้าน= 8 ตัว
- วิธีการสุ่ม .ในการสุ่มเลือกหมู่บ้าน ใช้การสุ่มแบบเป็นสัดส่วนต่อขนาด (proportional to size) โดยใช้วิธีการของ Lahiri (Lohr, 1999) และในการสุ่มเลือกสัตว์ใช้การสุ่มอย่างง่าย (simple random sampling) จากบัญชีสำรวจสัตว์ประจำหมู่บ้าน ได้ จำนวน 46 หมู่บ้าน ๆ ละ 8 ตัว รวม 368 ตัว (ตารางที่ 2)
การเก็บตัวอย่าง
- สนง.ปศจ.เก็บตัวอย่างเลือดจากโคเนื้อ-พื้นเมือง ในอำเภอที่กำหนดไว้ ปั่นแยกซีรั่ม และทำการบันทึกประวัติทุกตัวอย่าง ดังนี้
- ชื่อเจ้าของสัตว์และที่อยู่
- ชนิดสัตว์ (โคเนื้อ, โคนม, โคพื้นเมือง) เพศ และ อายุ
- ประวัติวัคซีน (FMD, Hemo) และจำนวนครั้งของการฉีด
- ประวัติการป่วยด้วยโรค FMD หรือสัตว์ที่เลี้ยงไว้ในฝูงเดียวกัน
- สภาพโดยทั่วไปของสัตว์ และอาการทางคลินิกขณะเก็บซีรั่ม
- ข้อมูลการเคลื่อนย้ายสัตว์
- หมายเลขประจำตัวสัตว์
- สนง.ปศจ.แบ่งซีรั่มที่เก็บได้เป็น 2 หลอด หลอดละไม่น้อยกว่า 1.5 ซีซี. ส่งตัวอย่างซีรั่มทั้ง 2 หลอด พร้อมประวัติสัตว์ไปที่ สสอ.9 ซึ่งจะรวบรวมส่งต่อไปที่ห้องปฏิบัติการศูนย์วิจัยและพัฒนาการ- สัตวแพทย์ภาคใต้ โดยห้องปฏิบัติการจะใช้ซีรั่ม หลอดที่ 1 ตรวจ NSP test และ LPB ELISA test ส่วนซีรั่มหลอดที่ 2 จะคัดเลือกส่งไปที่ศูนย์อ้างอิงโรคปากและเท้าเปื่อยเพื่อตรวจยืนยันความสอดคล้อง
แผนการปฏิบัติงาน
47 48 กิจกรรม ..... พย ธค มค กพ มีค เมย ..... การเตรียมการ 1. สสอ.9.วางแผนและกำหนดพื้นที่ X 2. ขออนุมัติดำเนินการ X 3. แจ้งหน่วยงานต่างๆ X 4. สสอ.9 ส่งวัสดุ อุปกรณ์ X การเก็บตัวอย่าง 5. สนง.ปศจ.ดำเนินการ X 6. สนง.ปศจ.ส่งซีรั่มไป สสอ.9 28 7. สสอ. 9 ส่งซีรั่มไปศูนย์ฯ 15 การรายงานผล 8. ศูนย์ฯ ใต้ แจ้งผลการตรวจ X 9. สสอ.9 วิเคราะห์และสรุปผล X 10. รายงานผล X
ระยะเวลาดำเนินการ ธันวาคม 47 -เมษายน 48
งบประมาณ งบประมาณปกติ
ผู้ดำเนินโครงการ
1.สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
2.สำนักสุขศาสตร์สัตว์และสุขอนามัยที่ 9
3.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในเขตพื้นที่ สสอ.9
4.ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้
การประเมิน ติดตามผล และรายงานผล
1. ศูนย์วิจัยฯ ภาคใต้แจ้งผลการตรวจให้ สสอ.9
2. สสอ.9 วิเคราะห์ผลและเขียนรายงานผล
3. สสอ.9 รายงานผลไปยัง สคบ. สนง.ปศจ.และ ศูนย์ฯ ใต้
ผู้จัดการกิจกรรม นายสิทธิโชค เอกผักนาก นายสัตวแพทย์ 7 วช.
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. ทราบความชุกของโรค FMD และระดับการถ่ายเทของไวรัสในเขตพื้นที่
2. ทราบระดับของภูมิคุ้มกันต่อโรค FMD ในสัตว์ที่ได้รับวัคซีน
2. สามารถประเมินประสิทธิภาพของมาตรการต่างๆ ที่ใช้ในเขตควบคุมโรคตารางที่ 2 การสุ่มตัวอย่าง
PSU หมู่ที่ บ้าน ตำบล อำเภอ จังหวัด จำนวนสุ่ม หมายเลขตัวอย่าง
1 1 กลาง ลำภููรา ห้วยยอด ตร 8 001-008
2 3 น้ำพราย ปากคม ห้วยยอด ตร 8 009-016
3 1 ป่าหว้าน บางดี ห้วยยอด ตร 8 017-024
4 7 หนองเอื้อง นโยงใต้ เมือง ตร 8 025-032
5 7 วังวิเศษ วังมะปรางเหนือ วังวิเศษ ตร 8 033-040
6 12 ห้วยใหญา วังวิเศษ อ่าวตง ตร 8 041-048
7 4 ทุ่งอิฐ ย่านซื่อ กันตัง ตร 8 049-056
8 9 ชุมบก เกาะสะท้อน ตากใบ นธ 8 057-064
9 7 ภัทรภักดี เจ๊ะเห ตากใบ นธ 8 065-072
10 1 จอเบาะ จอเบาะ ยี่งอ นธ 8 073-080
11 10 ทุเรียนนก ลำภู เมือง นธ 8 081-088
12 6 นาค้อเหนือ ป่าบอน โคกโพธิ์ ปน 8 089-096
13 3 ส้ม ควนโนรี โคกโพธิ์ ปน 8 097-104
14 3 พ่อมิ่ง พ่อมิ่ง ปะนาเระ ปน 8 105-112
15 5 ทรายขาวตก ทรายขาว โคกโพธิ์ ปน 8 113-120
16 1 นาประดู่ นาประดู่ โคกโพธิ์ ปน 8 121-128
17 8 โงกน้ำ นาขยาด ควนขนุน พท 8 129-136
18 3 เจ็นตก ตำนาน เมือง พท 8 137-144
19 11 ควรล่อน แม่ขรี ตะโหมด พท 8 145-152
20 4 วัง สมหวัง กงหรา พท 8 153-160
21 6 นอกทุ่ง(โรงพระ) ลำปำ เมือง พท 8 161-168
22 1 ในล้อม ป่าบอน ป่าบอน พท 8 169-176
23 3 แหลมยาง(หนองลึก) ปรางหมู่ เมือง พท 8 177-184
24 7 นากวด นาท่อม เมือง พท 8 185-192
25 6 นาท่อม นาท่อม เมือง พท 8 193-200
26 5 ท่ายูง ตะแพน ศรีบรรพต พท 8 201-208
27 7 ปากเกรียว ฝาละมี ปากพะยูน พท 8 209-216
28 12 โคกขาม โคกม่วง เขาชัยสน พท 8 217-224
29 5 หนองหาญ ชุมพล เมือง พท 8 225-232
30 2 ปาแตรายอ อาซ่อง รามัน ยล 8 233-240
31 1 กอตอตือระ กอตอตือระ รามัน ยล 8 241-248
32 3 พรุเมา นาหม่อม นาหม่อม สข 8 249-256
33 5 ดอนขี้เหล็ก พะวง เมือง สข 8 257-264
34 4 พรุหลุมพี สะกอม เมือง สข 8 265-272
35 8 ทุ่งข่า ท่าประดู่ นาทวี สข 8 273-280
36 7 เขากลอยนอก ท่าข้าม หาดใหญ่ สข 8 281-288
37 3 เกาะสะบ้า เกาะสะบ้า เทพา สข 8 289-296
38 4 คลองประดู่ ปากบาง เทพา สข 8 297-304
39 5 ยางทอง เกาะใหญ่ กระแสสินธุ์ สข 8 305-312
40 1 ตะเครียะ ตะเครียะ ระโนด สข 8 313-320
41 5 ควน คูเต่า หาดใหญ่ สข 8 321-328
42 2 ทุ่งแหลใต้ นาหมอศรี นาทวี สข 8 329-336
43 4 วังตง นาทอน ทุ่งหว้า สต 8 337-344
44 5 นาแค(ท่าจีน) คลองขุด เมือง สต 8 345-352
45 1 เกาะยาว ปูยู เมือง สต 8 353-360
46 4 ปลักหว้า ท่าแพ ท่าแพ สต 8 361-368
46หมู่ 368 ตัวอย่าง
- ขั้นตอนที่ 1 หน่วยสุ่มปฐมภูมิ (primary sampling unit, PSU) คือหมู่บ้าน,